เทรนด์รักสุขภาพโต ทำไมรายได้น้ำผลไม้ ตก?

Highlight

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา กระแสรักสุขภาพดันเอาตลาดสินค้าเพื่อสุขภาพต่างๆ เติบโตมาโดยตลอด และมีสินค้า ผู้เล่นรายใหม่กระโดดเข้ามาท้าชิงมากมาย แล้วเกิดอะไรขึ้นกับตลาดน้ำผลไม้? ที่มีรายได้หดตัว หรือแม้แต่มาลี ผู้นำตลาด ก็มีรายได้ตกลงและมูลค่าบริษัทหดหายไปกว่าหมื่นล้านบาทในเวลาไม่กี่ปี

ตลาดเครื่องดื่มอิ่มตัว

เศรษฐกิจตกต่ำ

ส่งออกเจอวิกฤติเงินบาทแข็งค่า

ที่ผ่านมา ตลาดเครื่องดื่มในประเทศไทยเติบโตจนเริ่มอิ่มตัว ในไตรมาส 3/62 ตลาดน้ำผลไม้พร้อมดื่มมีมูลค่า 11,591 ล้านบาท เติบโตติดลบ 1%

ประกอบกับวิกฤต #โควิด19 ทำให้เศรษฐกิจตกต่ำและกระทบมาถึงกำลังซื้อและพฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคด้วย

ผู้ผลิตหลายรายจึงเบนเข็มไปเจาะตลาดส่งออก แต่ก็เจอเข้ากับวิกฤติเงินบาทแข็งค่าในช่วงที่ผ่านมา เป็นเหมือนการซัดจุดบาดเจ็บให้ระบมมากขึ้น

การเติบโตของ เครื่องดื่มเติมวิตามิน

หรือ ฟังก์ชันนัลดริ้งก์

อีกปัจจัยที่ทำให้ตลาดน้ำผลไม้พร้อมดื่มเจอความท้าทาย ก็คือการ Switching ของผู้บริโภค เนื่องจากตัวเลือกเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพในท้องตลาดมีมากขึ้น ทำให้น้ำผลไม้ไม่ใช่เพียงตัวเลือกเดียวอีกต่อไป

และสิ่งที่มาเบียดตลาดนี้คือ ฟังก์ชันนัลดริ้งก์ หรือน้ำดื่มเติมวิตามิน ซึ่งดาวที่มาแรงที่สุดในกลุ่มนี้ก็คือ เครื่องดื่มวิตามินซี

ความรู้ความเข้าใจของผู้บริโภคก็เปลี่ยนไป

กระแสรักสุขภาพค่อยๆ ทำให้ผู้บริโภคมีความเข้าใจมากขึ้น ถึงตัวเลือกที่ดีต่อสุขภาพ นิยมของสด หรือของพรีเมียมที่หลากหลายขึ้น ประกอบกับผู้ผลิตก็ออกสินค้ามาตอบโจทย์มากมาย

ภาษีน้ำตาล ทำให้ตลาดเครื่องดื่มต้องปรับตัวขนานใหญ่

เพื่อให้ต้นทุนและราคาไม่สูงจนเกินไป เครื่องดื่มต่างๆ จึงออกตัวเลือกไม่เติมน้ำตาลออกมามากขึ้น ยิ่งทำให้น้ำผลไม้ที่โดยธรรมชาติมีน้ำตาลอยู่ ไม่เป็นตัวเลือกของคนที่มองหาเครื่องดื่มไร้น้ำตาล

มาลี กับมูลค่าที่หายวูบไปหมื่นกว่าล้านในเวลาเพียงไม่กี่ปี

ด้วยปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ จึงไม่แปลกใจที่ว่า ทำไมเหล่าผู้ผลิตน้ำผลไม้จึงมีผลประกอบการลดลงไปตามๆ กัน

มูลค่าบริษัทมาลีกรุ๊ป ผู้ผลิตน้ำผลไม้ตรา Malee หายไปกว่า 14,000 ล้านบาทใน 5 ปีที่ผ่านมา และรายได้ของบริษัทอื่นๆในตลาด เป็นดังนี้

MALEE
บริษัท มาลีกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) 

ปี 2558 5,512 ล้านบาท
ปี 2559 6,579 ล้านบาท
ปี 2560 5,988 ล้านบาท
ปี 2561 5,396 ล้านบาท
ปี 2562 5,000 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อน 7.3%

Tipco
บริษัท ทิปโก้ฟูดส์ จำกัด (มหาชน)

ปี 2558 3,264 ล้านบาท
ปี 2559 2,677 ล้านบาท
ปี 2560 2,576 ล้านบาท
ปี 2561 2,445 ล้านบาท
ปี 2562 2,147 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อน 12.2%

Chabaa
บริษัท ชบาบางกอก จำกัด

ปี 2558 1,640 ล้านบาท
ปี 2559 1,989 ล้านบาท
ปี 2560 2,144 ล้านบาท
ปี 2561 2,206 ล้านบาท
ปี 2562 2,143 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อน 2.9%

ดอยคำ
บริษัท ดอยคำผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด

ปี 2558 1,417 ล้านบาท
ปี 2559 1,701 ล้านบาท
ปี 2560 2,051 ล้านบาท
ปี 2561 1,893 ล้านบาท
ปี 2562 1,791 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อน 5.4%

Unif
บริษัท ยูนิ-เพรสซิเดนท์ (ประเทศไทย) จำกัด

ปี 2558 1,729 ล้านบาท
ปี 2559 1,729 ล้านบาท
ปี 2560 1,813 ล้านบาท
ปี 2561 1,668 ล้านบาท
ปี 2562 1,304 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อน 21.8%

เรียกได้ว่า ความท้าทายที่ตลาดน้ำผลไม้ต้องเจอขณะนี้
ไม่รู้ว่าผู้ผลิตมองหาทิศทางในการประคองและปรับตัวไปอย่างไร
จึงจะรักษาเก้าอี้ไม่ให้สั่นคลอนไปกว่านี้ได้

Popular Topics