สรุป 6 แนวคิดของ Gen Z Gen ที่กำลังเปลี่ยนโลก

Highlight

ทำไมเราถึงต้องเข้าใจมิติแนวคิดของ Gen Z? เพราะในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า Gen Z จะกลายเป็นกลุ่มผู้บริโภคหลักของโลก

มีงานวิจัยคาดว่าในปี 2025 Gen Z จะมีจำนวนมากถึง 1 ใน 4 ของภูมิภาค APAC
กลายเป็นกำลังหลักสำคัญของภูมิภาค มีบทบาทในตลาดแรงงานเพิ่มขึ้นสวนทางกับคนรุ่นก่อน และมีอำนาจในการกำหนดทิศทางตลาด ทิศทางสังคม

การที่จะวิเคราะห์แนวโน้มความเป็นไปของโลกยุคใหม่ จึงต้องทำความเข้าใจความเป็น Gen Z ก่อน

#AGENDA จะสรุปแนวคิดของ Gen Z ให้ทุกท่านได้ดูกันครับ

1. เข้าใจในความแตกต่าง

Gen Z เข้าถึงเทคโนโลยีตั้งแต่อายุยังน้อย
จึงได้รับข้อมูลมาก ได้เจอกับวิถีโลกไร้พรมแดน
ได้รับรู้เหตุการณ์เรื่องราวของคนที่แตกต่างจากตัวเอง
ทำให้มุมมองความคิดของเขาเปิดกว้าง
และเพราะอายุยังไม่มากวิธีคิดจึงมีความยืดหยุ่นสูงปรับเปลี่ยนได้

ในยุคของ Gen Z ผู้คนจึงไม่แบ่งแยกกีดกันกันเอง
แต่สามารถอยู่ร่วมในความแตกต่างได้
ความแตกต่างอาจไม่ได้เป็นประเด็นที่ Gen Z สนใจอีกแล้ว
เพราะโฟกัสไปที่ศักยภาพ ตัวตนของแต่ละบุคคล
ที่จะทำให้สังคมเกิดความก้าวหน้ามากกว่า

เริ่มเห็นได้จาก การเรียกร้องประเด็นการแต่งงานของ LGBTQ หรือ การประท้วงเรื่องเหยียดสีผิว Black Lives Matter

2. ‘Mindset’ มาก่อนตัวบุคคล

Gen Z ให้คุณค่ากับอิสรภาพทางความคิด
เขาจะมองข้ามตัวตนภายนอกและให้ความเคารพคนที่ทัศนคติ (Mindset)
มากกว่าความเป็น celebrity
เช่นใน Twitter ที่ถึงจะไม่ได้ระบุตัวตน แต่ถ้าแนวคิดที่โพสต์มีเหตุมีผล
หรือเขาเห็นด้วย มันก็ได้รับการยอมรับ

การรวมกลุ่มก็ทำได้ง่ายเพราะ connect กันทางความคิดได้ไวผ่านโซเชียลมีเดีย
Subculture ย่อยๆ เกิดขึ้นจำนวนมาก ทับซ้อนกันไปตามประเด็น
และในบางครั้งเกิดการแลกเปลี่ยน ถกประเด็นร่วมกันในกลุ่ม
จนกลายเป็น social movement ที่มีพลังขับเคลื่อนสังคมได้ไว

3. ฝักใฝ่ความเสมอภาค

เพราะเห็นวิธีคิดหลายแบบ การถกเถียงกัน และผลลัพธ์ของแนวคิดนั้นๆ
Gen Z จึงไม่ใช่กลุ่มที่คล้อยตามอิทธิพลด้านเดียว
แต่สามารถกลั่นกรอง ใช้ความคิดวิเคราะห์เลือกจุดยืนของตนเองได้
และให้คุณค่ากับความเท่าเทียม

ความสามารถตรงนี้ทำให้เวลา Gen Z เจอกับระบบที่ไม่เป็นธรรม
พวกเขาจะรู้ตัวและกล้าที่จะลงมือเปลี่ยนแปลงมันอย่างจริงจัง
เพราะเชื่อมั่นในเสียงของตัวเองและเลือกที่จะไม่ทนอยู่กับสิ่งที่ไม่เป็นเหตุเป็นผล
ไฟความมุ่งมั่นตรงนี้ สำหรับคนรุ่นเก่าอาจจะมอดไปแล้วก็ได้

ตัวอย่างเช่น มีการแสดงออกทางสัญลักษณ์
การใส่ใจการเมืองที่ส่งผลต่อชีวิตของพวกเขาโดยตรงมากขึ้น
การแสดงความคิดต่อกฎระเบียบในโรงเรียนที่ไม่มีเหตุผลอย่างเรื่องทรงผม

4. ฝันที่จะเห็นโลกดีขึ้น

พูดได้ว่า Gen Z เติบโตมาในยุคที่โลกกำลังแย่ลง เจอปัญหาที่ค้างคามาจากคนรุ่นเก่าที่ไม่สนใจแก้ไขอย่างจริงจังทำไปแบบผักชีโรยหน้า Gen Z พบกับสถานการณ์เหล่านี้ในวัยที่กำลังเติบโต ช่วงเวลาที่พวกเขาค้นหาตัวเอง ทิศทางของตัวเอง ของสังคม พวกเขาจึงต้องการแก้ไขปัญหาเหล่านั้น จึงออกมาผลักดันในประเด็นสำคัญ เช่น ภาวะโรคร้อน เพื่อสร้างสังคมคุณภาพที่พวกเขาอยากใช้ชีวิตอยู่
ตัวอย่างเช่น Greta Thunberg และเยาวชนหลายเชื้อชาติที่ออกมาลงมือกอบกู้สิ่งแวดล้อม
ในไทยเองก็เห็นเทรนด์รักษ์โลกกับวัยรุ่นมากขึ้น เช่น เลือกใช้สิ่งของรักษ์โลก ลดพลาสติก

5. มีคาแรคเตอร์ชัดเจน

Gen Z เป็นรุ่นที่มีความกล้า มั่นใจ เป็นตัวของตัวเอง
พวกเขาจะไม่ติดอยู่ในกรอบ และพร้อมแสดงตัวตนผ่านสิ่งต่างๆ
ในการเลือกซื้อสินค้า จึงชอบใช้ของที่มีเอกลักษณ์ (unique)
ดีไซน์เองได้ (customizable) และสอดคล้องกับคุณค่า (value) ที่พวกเขาเชื่อถือ
แบรนด์จึงต้องมี storytelling ที่ตรงกับความต้องการนี้

ตัวอย่างแบรนด์ที่ได้รับความนิยม เช่น Freitagแบรนด์ที่ให้ผู้ใช้ดีไซน์กระเป๋าของตัวเองได้
และชูเรื่องช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมไปในตัว นิยามของแบรนด์ Freitag ในหน้าเว็บไซต์
‘One-of-a-kind bags and accessories made from recycled truck tarp and fully compostable textiles’

6. ไม่เชื่อใน Work Life Balance

คนรุ่นนี้ก้าวไปไกลกว่ากรอบการทำงานแบบ Work Life Balance
จะโฟกัสไปที่คุณภาพของงานมากกว่า
สถานที่และเวลาทำงาน (Remote working)
เชื่อว่าพวกเขาสามารถออกแบบชีวิตการทำงานด้วยตัวเองได้ (Generation Flex)
เช่น การเลือกสวัสดิการเอง ซึ่งก็มีหลายบริษัทปรับนโยบายเพื่อตอบสนองคนรุ่นนี้
เช่น Toyota มีการช่วยดูแลลูกของพนักงานโรงงานกะกลางคืน (on-site child care)
บริษัท USG ใช้ระบบเข้าออกงานตาม point เพิ่มความยืดหยุ่นในเรื่องเวลาทำงาน

เราเดาอนาคตแน่นอนไม่ได้
เพราะมันคือผลลัพธ์ของเหตุการณ์ที่ต่อกันไปเรื่อยๆ
เหตุการณ์ที่สร้างแรงกระเพื่อมได้
แต่การได้ศึกษาลักษณะนิสัยของคนรุ่นใหม่
ก็ทำให้รู้สึกตื่นเต้น รู้สึกถึงไฟบางอย่าง
เพราะลึกๆแล้วเราอาจจะอยากลองเชื่อดูอีกครั้งว่า
พวกเราเปลี่ยนแปลงได้จริง

Popular Topics