สัดส่วนหนี้ครัวเรือนไทยต่อ GDP สูงที่สุดในรอบ 18 ปี
หนี้ครัวเรือน คือหนี้ที่สถาบันการเงินต่างๆ ให้คนทั่วไปกู้ยืมเงิน เช่น บัตรเครดิต ผ่อนบ้าน ผ่อนรถ ทำมาหากิน เป็นต้น แล้วแต่ความจำเป็นและจุดประสงค์ของแต่ละคน
10 กว่าปีก่อน หรือในปี 2552 สัดส่วนหนี้ครัวเรือนไทยต่อ GDP อยู่ที่ 50.4%
ในปี 2560 สัดส่วนหนี้ครัวเรือนไทยต่อ GDP อยู่ที่ 78%
ในปี 2562 สัดส่วนหนี้ครัวเรือนไทยต่อ GDP อยู่ที่ 79.9%
ในไตรมาส 1/2563 สัดส่วนหนี้ครัวเรือนไทยต่อ GDP อยู่ที่ 80.1%
ในไตรมาส 2/2563 สัดส่วนหนี้ครัวเรือนไทยต่อ GDP อยู่ที่ 83.8%
และสิ้นสุดปีนี้ หนี้ครัวเรือนอาจพุ่งไปสูงถึง 88-90% ต่อ GDP
——-
หน้าตาหนี้ครัวเรือนต่างประเทศล่ะ?
เราก็ไม่เหงาหรอก ถ้าดูแต่หนี้ครัวเรือนต่อ GDP ที่สูงเหมือนเรา ไม่ว่าจะเป็น
– นิวซีแลนด์ สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP อยู่ที่ 96.9%
– สหราชอาณาจักร สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP อยู่ที่ 89.5%
– สหรัฐอเมริกา สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP อยู่ที่ 67.7%
– ญี่ปุ่น สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP อยู่ที่ 63.8%
ถ้าเทียบกับต่างประเทศหนี้ครัวเรือนเราก็อาจจะดูสูงพอๆ กัน แล้วเราจะน่าเป็นห่วงตรงไหนล่ะ?
แน่นอนว่าสิ่งที่น่าเป็นห่วงที่สุดของการมีหนี้ คือความสามารถในการจ่ายหนี้
ในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว ถ้าหนี้ครัวเรือนต่อ GDP สูง แปลว่าการจับจ่ายใช้สอยคล่องตัว สอดคล้องกับความแข็งแรงและพื้นฐานเศรษฐกิจเช่น สหราชอาณาจักร 84% ของหนี้ มีที่มาจากอสังหาริมทรัพย์ ส่วนหนี้บัตรเครดิตอยู่ที่เพียง 4%
ส่วนไทย 40% ของหนี้มีที่มาจากอสังหาริมทรัพย์ ส่วนหนี้บัตรเครดิตสูงถึง 30%
นอกจากนี้ ไตรมาส 2/63 ของไทย ก็มียอดคงค้างหนี้ครัวเรือนเพิ่มขึ้นสูงถึง 9.22 หมื่นล้านบาท สะท้อนให้เห็นว่าภาวะการเงินของคนไทยกำลังอ่อนแอ
ในปีนี้ไทยและทั่วโลกก็ผจญสภาวะวิกฤติจาก COVID-19 ทำให้รายได้จากการท่องเที่ยวหดหาย บัณฑิตจบใหม่อาจตกงานราว 500,000 คน .และยิ่งตอนนี้ COVID-19 เกิดการแพร่เชื้อขึ้นอีกครั้ง ทำให้สภาวะเศรษฐกิจโดยรวมยิ่งน่าเป็นห่วงหนักขึ้น และน่าจะส่งผลกระทบต่อความสามารถในการชำระหนี้ครัวเรือนอย่างแน่นอน
—–
จังหวัดไหนภาระหนักสุด?
ครัวเรือนทั่วประเทศ มีประมาณ 21.88 ล้านครัวเรือน
ในปี 2562 หนี้ครัวเรือนไทยเฉลี่ยอยู่ที่ 340,053 บาท/ครัวเรือน
จังหวัดที่มีหนี้สินเฉลี่ยต่อครัวเรือนมากที่สุด 5 อันดับ ได้แก่
#1 ปทุมธานี 288,110 บาท
หนี้ส่วนใหญ่มาจาก: ใช้ซื้อ/เช่าซื้อบ้านและที่ดิน (60% )
#2 นครราชสีมา 285,595 บาท
หนี้ส่วนใหญ่มาจาก: ใช้ทำธุรกิจที่ไม่ใช่การเกษตร (43%)
#3 สุรินทร์ 256,332 บาท
หนี้ส่วนใหญ่มาจาก: ใช้จ่ายในครัวเรือน (56%)
#4 นนทบุรี 248,010 บาท
หนี้ส่วนใหญ่มาจาก: ใช้ซื้อ/เช่าซื้อบ้านและที่ดิน (66% )
#5 สระบุรี 245,176 บาท
หนี้ส่วนใหญ่มาจาก: ใช้จ่ายในครัวเรือน (41.4%)
—–
ถ้าสถานการณ์ยังไม่ดีขึ้น อาจมีคนที่ต้องตกอยู่ในภาวะ มีหนี้ก็จ่ายไม่ไหว แต่ถ้าไม่กู้ก็อยู่ไม่ได้ มากขึ้นเรื่อยๆ ก็เป็นได้