คนไทยยังดูทีวีอยู่หรือไม่?
จริงๆ แล้ว จากภูมิทัศน์สื่อในประเทศไทย ทีวียังเป็นสื่อที่เข้าถึงแทบทุกครัวเรือน
โดยมีผู้ชมกลุ่มหลักคือ กลุ่มที่อายุ 35 ปีขึ้นไป
ในขณะที่ผู้เข้าถึง ‘อินเทอร์เน็ต’ ในปีก่อนอยู่ที่ 70% หรือ 50 ล้านคนทั่วประเทศ
แต่การระบาดของโควิด19 ที่ผ่านมา
ทำให้จำนวนผู้เข้าถึง ‘อินเทอร์เน็ต’ ของไทย พุ่งไปแตะ 80% หรือ 55 ล้านคนในระยะเวลาสั้นๆ จากเดิมที่คาดว่าจะใช้เวลาราวสองสามปี โดยกลุ่มที่เพิ่มขึ้นมาส่วนใหญ่คือรุ่น Gen X และ Baby Boomer
ถ้าทีวียังเข้าถึงทุกบ้าน แล้วทำไม? เราถึงรู้สึกว่า วงการทีวีแทบจะหยุดเคลื่อนไหว ดูครั้งล่าสุดเมื่อไหร่ไม่รู้ ตอบไม่ได้อีกต่อไปว่าละครหลังข่าวช่องดังวันนี้เป็นเรื่องอะไร
แต่เราตอบได้ว่า Netflix ตอนนี้กำลังโปรโมทเรื่องอะไร
Line TV กำลังมีเรื่องฮอตฮิตเป็นอะไร
หรือถ้าอยากดูซีรีย์จีน จะไปค้นใน WeTV ก่อนเลย
ข้อมูลที่ยังสวนทางกันนี้ เติมเต็มได้ด้วยพฤติกรรมของผู้ชม และคอนเทนต์ที่แต่ละสื่อนำเสนอ
คอนเทนต์บนทีวีแบบเดิมๆ นั้นนำเสนอรายการรีรัน และรายการวาไรตี้รูปแบบคล้ายๆ กัน คือ ประกวดร้องเพลง ทำภารกิจปลดหนี้ หรือรายการทอล์คที่ปิดด้วยการขายอาหารเสริม คั่นด้วยโฆษณาขายของ ทำให้ทีวีส่วนพัฒนาไปทาง TV Shopping
ในขณะที่บนโลกออนไลน์ Content Platform มีคอนเทนต์จากหลากหลายเชื้อชาติ หลากหลายรูปแบบให้เลือกชมได้ในทุกช่วงเวลา ตามแต่ Personal Time และรสนิยมชมชอบของแต่ละคน
จึงไม่น่าแปลกใจที่พฤติกรรมการเสพคอนเทนต์บนแพลตฟอร์มเหล่านี้ ส่วนใหญ่จะเป็นการ ‘ดูย้อนหลัง’
กว่า 72% ส่วนการดูแบบ Live มีสัดส่วนอยู่ที่ 28%
ทำให้กลุ่มธุรกิจ Content Platform เป็นอีกฟิลด์ที่แข่งขันกันอย่างดุเดือดและจริงจัง ทั้งการเข้ามาของต่างชาติ เช่น WeTV ก็ต่อยอดมาจาก Tencent Video ของจีน หรือการทำ Original Content อันโดดเด่นของ Netflix และ LineTV หรือ VIU ที่มีไอเดียเด็ดๆ นำเสนอซีรีย์เกาหลีพากย์เสียงอีสาน
ทำให้เห็นว่า แต่ละ Content Platform กำลังแย่งชิงผู้ชมมาอยู่ในมือกันสุดฤทธิ์
Netflix ที่ตอนนี้ถือว่าแข็งแกร่งหนักมาก ก็ยังไม่ใช่เสือนอนกินที่จะอยู่เฉยๆ แบบสบายใจ แต่ยังต้องทุ่มกำลังสร้าง Original Content มหาศาลทุกปี เพิ่มความเอาใจ Local Content มากขึ้น ด้วยการเพิ่มเนื้อหาตามภูมิภาคของผู้ชมมากขึ้น
แล้วตอนนี้คุณผู้อ่าน ดูเจ้าไหน Subscribe อะไรกันอยู่บ้างคะ?