ไม่มีที่ไหน ผลักให้เด็กต้องสอบต่อเนื่อง กว่า 30 วิชา ใน 3 สัปดาห์
โดยเฉพาะช่วงที่การเรียนการสอนสะดุดมาตลอดปีเช่นนี้
#AGENDA ชวนสำรวจสไตล์การสอบเข้ามหาวิทยาลัยของแต่ละประเทศ
มาดูกันว่าเด็กไทยที่กำลังต้องสอบเข้ามหาวิทยาลัยรุ่นนี้ หรือ #dek64 กำลังเจอกับอะไร?
แล้วสอบเข้ามหาลัย ประเทศไหนโหดกว่ากัน?
ไทย –
GAT PAT/ระบบ TCAS/O-NET/9 วิชาสามัญ/กสพท.
#dek64 ต้องสอบมาราธอน กว่า 30 วิชา ใน 3 สัปดาห์
ในช่วงเวลานี้ สิ่งที่น่าจับตามองอย่างมากในสังคม
น่าจะเป็นเรื่องที่ว่า เด็ก ๆ ที่กำลังเตรียมสอบเข้ามหาวิทยาลัย หรือ #dek64 รวมตัวกันฟ้องศาลปกครอง ในวันที่ 17 มีนาคม ที่ผ่านมา
โดยล่าสุดมีการอัปเดทสถานการณ์ผ่าน Twitter นักเรียนเลว (@badstudent_) ว่า
“Update : ศาลรับหลักฐานจากฝ่ายโจทก์ครบแล้ว เหลือขั้นตอนเรียกตัวแทนจากหน่วยงานจัดสอบและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้ง 5 มาไต่สวน ขอนักเรียนทั้งผองร่วมกันส่งเสียงผ่านแฮชแท็กให้ศาลยังคงผดุงความยุติธรรมให้ประชาชนอย่างที่ควรจะเป็น”
เด็กๆ กำลังเจออะไร ทำไมต้องยื่นฟ้อง?
– จัดสอบติด ๆ กันต่อเนื่อง กว่า 30 วิชา ใน 3 สัปดาห์
ในปีนี้ ผู้ที่ต้องการสิทธิ์คัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย
ต้องเจอการทดสอบหลากรูปแบบ ทั้ง GAT PAT-/O-NET/9 วิชาสามัญ/กสพท.
เพื่อนำคะแนนมายื่นคัดเลือกเข้าระบบกลาง ที่เรียกว่าระบบ TCAS
นอกจากปัญหาที่ดูจะซ้ำเดิมทุกปี อย่างความซับซ้อนและความเสถียรของระบบ
ในปีนี้ ตารางการเปิด-ปิดเทอมของเด็ก ๆ ยังกระทบจากวิกฤตโควิด-19 ทำให้มีการเรียนการสอนได้ไม่เต็มที่ และยังมาซ้อนทับกับการสอบเข้ามหาวิทยาลัยและอีกหลายอีเวนท์
– ทับซ้อนหลายอีเวนท์
การคัดเลือกเด็กเข้ามหาวิทยาลัยในครั้งนี้ทับซ้อนกับการสอบปลายภาคหลายโรงเรียน
ชนกับวันสอบปลายภาคของเด็กกศน.
คาบเกี่ยวการเลือกตั้งท้องถิ่น
และการเกณฑ์ทหารประจำปีอีกด้วย
– สถานการณ์โรคระบาดล่าสุดก็กำลังน่ากังวล
เนื่องจากมีการพบการระบาดแถวบางแค
และพบผู้ติดเชื้อที่ยืนยันแล้วมากกว่า 300 ราย
ทำให้เด็ก ๆ มีความกังวลในการเดินทางไปสอบรวมกันเป็นจำนวนมาก
– อย่างไรก็ตาม ล่าสุดหน่วยงานจัดสอบที่เกี่ยวข้อง ก็ยังยืนยันว่าจะไม่มีการเลื่อนตารางสอบใดใด
การสอบที่ผ่านมา-ปัจจุบัน
– การสอบวัดผลไม่ได้มีประเด็นปัญหาแค่ในปีนี้
แต่ยังผ่านการปรับระบบและวิธีบ่อยครั้ง ทำให้ไม่สามารถเตรียมตัว ปรับตัวให้เข้ากับระบบใหม่ได้ง่ายนัก เพราะปีถัดไปก็อาจมีการปรับระบบครั้งใหญ่อีกก็ได้
– แม้ไทยมีความเหลื่อมล้ำสูงทั้งด้านการศึกษาและเศรษฐกิจ
แต่การสอบเข้ามหาวิทยาลัยของไทย ดูจะยิ่งตอกย้ำ ‘ยิ่งจ่ายยิ่งมีโอกาส’
การกระจายการสอบให้คัดเลือกหลายรอบ สอบหลายวิชา ทำให้เกิดค่าใช้จ่ายยิบย่อยตามมามากมาย
วัดผลเยอะ แต่พัฒนาน้อย
– ตั้งระบบวัดผลยิบย่อย กับทั้งฝั่งผู้สอน และฝั่งผู้เรียน
– ระบบการศึกษาล้มเหลวในการ ‘ควบคุมและพัฒนามาตรฐาน’ การเรียนการสอนในสถานศึกษา
สามารถอ่าน สรุปนโยบายและสภาพ #ความล้มเหลวของการศึกษาไทย พร้อมเล่าถึง 3 ประเทศ ที่ขึ้นชื่อว่ามีระบบการศึกษาขั้นพื้นฐานดีที่สุดในโลก ได้ที่ https://agenda.co.th/featured/thai-education-system-failure/
เกาหลีใต้ – ซูนึง (CSAT)
สอบครั้งเดียว ตัดสินชีวิตที่เหลือ
ความเข้มข้น
– 1 ปี สอบ 1 วัน ช่วงเดือนพฤศจิกายน ที่ศูนย์สอบมากกว่าพันแห่งทั่วประเทศ
– สอบทุกวิชาในวันเดียว 8 ชั่วโมง ตั้งแต่ 8 โมงเช้าถึง 5 โมงเย็น
– ผลสอบนำไปยื่นได้ทั้งม.รัฐและเอกชน
ทั้งประเทศให้ความสำคัญ
แม้จะเป็นการสอบเพียง 1 วัน ของเด็กๆ แต่ภาครัฐก็ให้ความสำคัญ โดยจัดการอำนวยความสะดวกให้ และลดโอกาสที่ผู้เข้าสอบจะถูกรบกวน
– ธนาคารและตลาดหุ้นเปิดช้ากว่าปกติ 1 ชั่วโมง ลดการจราจร
– ตำรวจออกมาประจำจุด คอยรับส่งกรณีนักเรียนมาสาย หลงทาง หรือลืมบัตรเข้าห้องสอบ
– ห้ามเครื่องบินขึ้นลง ในช่วงทดสอบทักษะการฟังภาษาอังกฤษ
– เพิ่มบริการขนส่งสาธารณะ
ผลสอบส่งผลมากต่อชีวิต
ว่ากันว่า ถ้าสอบเข้ามหาวิทยาลัย Top 3 ของประเทศอย่าง SKY ได้ จะการันตีตำแหน่งการงานที่ดี
จีน – เกาเข่า
วันแห่งการสอบถือเป็นวันสำคัญของชาติ
โหดและเข้มข้น
– การสอบเกาเข่า จะจัดสอบเพียงปีละครั้ง
มียอดผู้เข้าสอบต่อปีสูงมาก ในปีล่าสุด มียอดผู้เข้าสอบถึง 10.7 ล้านคน
– ราวๆ 20-30% เป็นผู้ที่สอบไม่ผ่าน หรือต้องการสอบใหม่
– มีอัตราการแข่งขันอยู่ที่ราว ๆ 1 ต่อ 50,000 คน
วันสอบถูกนับเป็นอีเวนต์ระดับชาติ
– มีการประกาศเป็นวันหยุด
– ห้ามบีบแตรใกล้สนามสอบ
– เพิ่มรถสาธารณะเพื่อให้เดินทางได้สะดวก
– รถตำรวจนำทางรถบัสที่ขนเด็กมาสอบ
โกงหนัก กวดวิชาโต
ปัญหาของการสอบเกาเข่า นอกจากจะเป็นเรื่องความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาในแผ่นดินจีน ที่เด็กชนบท เด็กทุกฐานะ ต้องมาใช้มาตรฐานข้อสอบเดียวกัน แต่เข้าถึงการศึกษาได้ไม่เท่ากันแล้ว ยังมีการโกงเกิดขึ้น เช่น
– จ้างคนมาสอบแทน ลักลอบส่งคำตอบ
– มีการค้นพบว่า เด็กหลายร้อยคนถูกสวมรอยเรียนแทน
คือเด็กไม่ได้รับจดหมายว่าสอบผ่าน แต่จริงๆ แล้วสอบผ่าน
จนกระทั่งไปพบว่ามีใช้ชื่อของตนเองเข้าเรียนมหาวิทยาลัยไปแล้ว
การสวมรอยเรียนแทน มีทั้งแบบที่ยินยอมและไม่ยินยอม
ในกรณียินยอม ก็คือเด็กมีฐานะครอบครัวยากจน จึงขายสิทธิ์ในการเข้าเรียนที่สอบได้ให้คนอื่น
ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาของจีน
ยังทำให้เด็กที่สอบเกาเข่าไม่ผ่าน และฐานะทางบ้านไม่ดี ต้องล้มเลิกการสอบในปีหน้าไป แต่มุ่งหน้าหางานทำเพื่อเอาเงินมาจุนเจือครอบครัวที่แร้นแค้นก่อน
การแข่งขันที่สูงและเข้มข้นในการสอบนี้
ยังหนุนให้ตลาดกวดวิชาของจีน มีมูลค่าสูงถึง 3 ล้านล้านบาทอีกด้วย
ญี่ปุ่น – Center Shiken
แข่งทำคะแนน เข้าม.ดัง
การสอบเข้ามหาวิทยาลัยของญี่ปุ่น ได้รับฉายา ‘นรกแห่งการสอบ’
การสอบเข้ามหาวิทยาลัยสุดโหดนี้ ทุกคนจะต้องสอบ 2 รอบ ใช้เวลา 2 วัน
การสอบรอบแรกของเป็นการสอบส่วนกลาง (National Center Test for University Admissions)
และการสอบในรอบสอง จะต้องมีเกณฑ์คะแนนส่วนกลางที่สูงพอ เพื่อเข้าสอบเฉพาะของมหา’ลัย และคณะดังๆ
มีผู้เข้าสอบปีละประมาณ 5 แสนคน
การสอบนี้จะต้องเตรียมตัวอย่างหนัก ถ้ามุ่งม.ดัง
เพราะสัดส่วนของมหาวิทยาลัยรัฐเปิดรับน้อย มีเกณฑ์คะแนนโหด
ในทุกปีมีเด็กกลับมาสอบใหม่เป็นแสนคน เพื่อเข้ามหาลัยที่หวังให้ได้
ถึงแม้ว่าการเข้ามหาลัยรัฐดี ๆ ได้ ก็เป็นความภูมิใจและการันตีการงานที่ดีได้
แต่สำหรับสังคมญี่ปุ่นที่มีความมั่นคง บริษัทเน้นวัฒนธรรมองค์กรมากกว่าใบปริญญา
ทำให้แม้เด็กที่จบม.ปลายใหม่ ๆ ยังไม่มีปริญญาตรีก็หางานได้ เพราะมีทางเลือกให้ค่อนข้างหลากหลาย ทั้งการต่อสายอาชีพ หรือเรียนจบทำงานเลยก็ได้เช่นกัน
เด็กจำนวนมากจึงมีทางเลือกทำงานเลย ไม่จำเป็นต้องต่อมหา’ลัย
หรือเด็กที่ฐานะทางบ้านไม่ดีนัก การเรียนต่อมหาวิทยาลัยมีค่าใช้จ่ายที่สูง ก็สามารถหางานทำเพื่อเก็บเงินเรียนต่อได้ด้วยตนเอง
ฟินแลนด์ – Matriculation Examination
Less is More สอบน้อย แต่ได้ผลมาก
การปฏิรูปการศึกษาของฟินแลนด์ให้ ‘ไม่มีสอบ’ ‘การบ้านน้อย’ ‘เรียนน้อย’ ยังคงเป็นกรณีศึกษาสุดเซอร์ไพรส์ของหลายประเทศทั่วโลก
เพราะมัน ‘สวนทาง’ กับหลักการวัดผลที่หลายประเทศใช้กันอย่างแพร่หลาย แต่กลับทำให้ฟินแลนด์เป็นหนึ่งในประเทศที่มีระบบการศึกษาที่ดีที่สุดในโลก
การเข้ามหาวิทยาลัย ใช้การสอบอย่างเดียวจบ
– มีการสอบเข้ามหา’ลัยอย่างเดียวคือ matriculation examination
– ต้องสอบอย่างน้อย 4 วิชา
– โดยมีวิชาบังคับ ที่ทุกคนต้องสอบ 1 วิชา และเลือกสอบอีกอย่างน้อย 3 วิชา
การสอบยังจัดแบบเว้นระยะนานถึง 6 เดือน
โดยจัดปีละ 2 ครั้ง ในฤดู spring และ autumn
นักเรียนยังสามารถแบ่งสอบได้ โดยเก็บคะแนนไว้ใช้ต่อได้ 3 ช่วงสอบ
ผลการศึกษาการไม่มีสอบยิบย่อย ไม่ใช้การวัดผลแบบแข่งขันกันของฟินแลนด์ พบว่าทำให้ทั้งครูและนักเรียนสบายใจ เตรียมการสอนได้ตามปกติ และนักเรียนก็สามารถเตรียมสอบเข้ามหา’ลัยได้เต็มที่
นอกจากนี้ อัตราเด็กเข้าเรียนระดับมหาวิทยาลัยของฟินแลนด์ ยังสูงกว่ามาตรฐานเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยกลุ่มประเทศ OECD เสียด้วย
ที่มา: BBC, YLIOPPILASTUTKINTOLAUTAKUNTA, xinhua, japanistry, prachachat, นักเรียนเลว, thestandard