บทสรุปที่สุดของไทย 2020
ปี 2020 แห่งความหนักหนาสาหัสที่เพิ่งผ่านไป
‘ไทย’ เป็นที่สุดในเรื่องไหนบ้าง
#Agenda รวบรวมสถิติ ‘ปังที่สุด’ และ ‘พังที่สุด’ ของไทยในปี 2020 ที่ผ่านมาให้ดูกัน
———-
ปังที่สุด
อันดับ 1 ในการเริ่มต้นธุรกิจ จากทั้งหมด 73 ประเทศ
จัดอันดับโดย US.News & World Report — ไทยอยู่อันดับ 1 มาตั้งแต่ปี 2019 ถือเป็นปีที่ 2 ติดต่อกันที่ไทยได้รับรางวัล ‘Best Countries to Start a Business’ ซึ่งขึ้นอยู่กับ 5 ปัจจัย ได้แก่ ราคาลงทุน,ระบบราชการ,ต้นทุนการผลิต,ทำเล และการเข้าถึงแหล่งเงินทุน
อันดับ 1 เศรษฐกิจทุกข์ยากน้อยที่สุด จากทั้งหมด 60 เศรษฐกิจ
จัดอันดับโดย Bloomberg — ไทยอยู่อันดับ 1 มาตั้งแต่ปี 2017 4 ปีซ้อน อ้างอิงจาก Bloomberg’s Misery Index โดยวัดจาก ตัวเลขอัตราเงินเฟ้อและการว่างงาน โดยการจัดทำตัวเลขอัตราว่างงานของไทยต่างจากประเทศอื่น จึงไม่น่าจับตามองเท่าประเทศที่มีพัฒนาการอย่างไต้หวันหรือสิงคโปร์มากนัก
อันดับ 1 อาหารอร่อยที่สุด จากทั้งหมด 50 อาหารทั่วโลก
จัดอันดับโดย CNN Travel — ไทยยังคงขึ้นชื่อในเรื่องของ ‘อาหาร’ เสมอมา ในปี 2020 แกงมัสมั่นไทย ติดอันดับที่ 1, ต้มยำกุ้ง ติดอันดับที่ 8, ส้มตำ ติดอันดับที่ 46
อันดับ 1 ฟื้นตัวและรับมือจาก COVID-19 ณ วันที่ 29 กรกฎาคม 2020
จัดอันดับโดย Global COVID-19 Index (GCI) — เป็นการวัดภาพรวมในสองมิติ คือ ด้านการฟื้นตัวและด้านความรุนแรงของการระบาด โดยไทยได้คะแนนดีที่สุดในทั้งสองมิติ จาก 184 ประเทศ
อันดับ 1 ข้าวหอมมะลิ จาก 5 ประเทศ
จัดอันดับโดย The Rice Trader สหรัฐอเมริกา — พันธุ์ข้าวหอมมะลิไทย105 ทวงแชมป์จากเวียดนาม ได้รางวัล ‘World’s Best Rice Award’ จากการประกวดข้าวที่ใหญ่ที่สุดในโลก
อันดับ 6 ระบบสุขภาพ
จัดอันดับโดย มหาวิทยาลัยจอนส์ ฮอปกินส์ — ไทยอยู่อันดับที่ 6 ของโลก และอันดับ 1 ในเอเชีย โดยใช้ ‘Global Health Security Index’ ชี้วัด 6 ด้าน ได้แก่ การป้องกันโรค, ความสามารถในการตรวจโรคและรายงาน, การตอบโต้และบรรเทาผลกระทบของโรคระบาด, ระบบสุขภาพ, มุ่งมั่นในการพัฒนา, แผนและงบด้านป้องกันโรค, ความเสี่ยงต่อภัยคุกคามด้านชีวภาพ
———-
พังที่สุด
อันดับ 1 มลพิษทางอากาศ
จัดอันดับโดย Airvisual — เชียงใหม่ เคยขึ้นแท่นอันดับ 1 เมืองที่มีมลพิษทางอากาศแย่ที่สุดในโลก ในช่วงเดือนมีนาคมถึงเมษายน จากเหตุการณ์ไฟป่าดอยสุเทพ และกรุงเทพ ก็ติดอันดับต้นๆเมืองที่มีมลพิษทางอากาศมากที่สุดหลายวัน ในช่วงปี 2020 ที่ผ่านมา วัดจากค่า AQI หรือดัชนีคุณภาพอากาศ
อันดับ 1 ทำรัฐประหารสำเร็จมากที่สุด
จัดอันดับโดย Center for Systemic Peach — ตั้งแต่ปีพ.ศ.2489 ถึงพ.ศ.2561 ในช่วง 72 ปี ไทยมีการทำ ‘รัฐประหารที่ยึดอำนาจสำเร็จ’ ทั้งสิ้น 13 ครั้ง ซึ่งถือว่ามากที่สุดในโลก
อันดับ 140 เสรีภาพสื่อ จาก 180 ประเทศ
จัดอันดับโดย องค์กรนักข่าวไร้พรมแดน Reporters sans frontiers RSF — ไทยอยู่อันดับที่ 140 ตกลงมา 4 อันดับจากปีที่แล้ว โดยใช้ ‘ดัชนีชี้วัดเสรีภาพสื่อ Press Freedom Index’ ซึ่งวัดจากอิสระของสื่อ, การใช้อิทธิพลปิดกั้นข้อมูลจากรัฐและจากภายในองค์กรสื่อ, ความโปร่งใส และกฎหมายประเทศนั้นๆ
อันดับ 89 ทักษะภาษาอังกฤษ จาก 100 ประเทศที่ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลัก
จัดอันดับโดย Education First — ไทยอยู่อันดับที่ 89 โดย ‘Education First English Proficiency Index’ อยู่ที่ 419 ถือว่าอยู่ในระดับต่ำมาก ทำได้แค่การแนะนำชื่อ อายุ บ้านเกิด ป้ายบอกทางง่ายๆเท่านั้น เทียบกับระดับสูงมาก ที่ใช้ภาษาอังกฤษเสนองาน อ่านหนังสือพิมพ์ ดูโทรทัศน์ได้ทั้งหมด
อันดับ 6 ความเหลื่อมล้ำมากที่สุด
จัดอันดับโดย World Bank — ไทยอยู่อันดับที่ 6 ของโลก และอันดับ 1 ในเอเชีย โดยวัดจาก ‘GINI index’ ใช้วัดค่าความเหลื่อมล้ำความมั่งคั่งของประชากร ที่ได้ไป 84.6% แปลได้ว่ามีคนกลุ่มหนึ่งที่ถือครองรายได้ทั้งหมด การกระจายตัวของรายได้ต่ำ กล่าวได้ว่า GINI index เป็นดัชนีชี้วัดความสุขของประชากร และสะท้อนการบริหารประเทศของรัฐบาล
อันดับ 101 ความโปร่งใสคอร์รัปชันและ จาก 180 ประเทศ
จัดอันดับโดย องค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ TI — ไทยได้ 36/100 คะแนน อันดับลดลงเป็น 101 จาก 99 เมื่อปีที่แล้ว โดยวัดจากดัชนีภาพลักษณ์การคอร์รัปชันในภาครัฐทั่วโลก ‘Corruption Perception Index’ โดยปัญหาของไทยคือการคอร์รัปชันของข้าราชการ, กลไกภาครัฐที่ไม่โปร่งใส, มีการใช้กฎหมายสองมาตรฐาน, การแทรกแซงการบริหารและองค์กรอิสระ, การปกปิดข้อมูล, และการมีนโยบายต่อต้านแต่ไม่ปฏิบัติจริง