การบินไทยไปแล้ว! หลังพ้นสภาพการเป็น ‘รัฐวิสาหกิจ’ ด้วยผลขาดทุนมหาศาล 141,171 ล้านบาท
AGENDA พาส่อง 5 อันดับรัฐวิสาหกิจ ที่ขาดทุนสูงสุดปี 63
หลายคนคงรู้ว่าหลายๆ รัฐวิสาหกิจในไทย มีผลประกอบการ ‘ขาดทุน’
แต่ใครจะขาดทุนมากน้อยแค่ไหน? เรามาดูกัน!
อันดับ 1 ขสมก. หรือ องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ
ปี 63 มีรายได้รวม 8,611 ล้านบาท
โดยค่าใช้จ่ายหลักๆ คือ
– ต้นทุนการเดินรถ 8,366 ล้านบาท
– ต้นทุนทางการเงิน 2,624 ล้านบาท
ทำให้มีผลขาดทุนสูงที่สุด ถึง 4,227 ล้านบาท*
ขาดทุนลดลงจากปีที่แล้ว 44.4%
อันดับ 2 วิทยุการบินแห่งประเทศไทย
ปี 63 มีรายได้รวม 7,376 ล้านบาท
โดยค่าใช้จ่ายหลักๆ คือ
– ค่าใช้จ่ายผลประโยชน์พนักงาน 7,989 ล้านบาท
– ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย 1,222 ล้านบาท
ทำให้มีผลขาดทุนสูงถึง 3,427 ล้านบาท*
ขาดทุนเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 504%
อันดับ 3 ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
ปี 63 มีรายได้รวม 5,066 ล้านบาท
โดยค่าใช้จ่ายหลักๆ คือ
– หนี้สูญและหนี้สงสัยจะสูญ 2,699 ล้านบาท
– ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับพนักงาน 1,051 ล้านบาท
ทำให้มีผลขาดทุนสูงถึง 2,380 ล้านบาท*
ขาดทุนเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 411.%
อันดับ 4 อสมท. หรือ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)
ปี 63 มีรายได้รวม 1,512 ล้านบาท
โดยค่าใช้จ่ายหลักๆ คือ
– ต้นทุนจากการขายและให้บริการ 1,460 ล้านบาท
– ผลขาดทุนจากการด้อยค่าของสินทรัพย์ 1,138 ล้านบาท
ทำให้มีผลขาดทุนสูงถึง 1,494 ล้านบาท*
ขาดทุนเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 239%
อันดับ 5 บขส. หรือ บริษัท ขนส่ง จำกัด
ปี 63 มีรายได้รวม 2,246 ล้านบาท
โดยค่าใช้จ่ายหลักๆ คือ- ต้นทุนการเดินรถ 1,587 ล้านบาท
– ค่าใช้จ่ายในการบริหาร 1,217 ล้านบาท
ทำให้มีผลขาดทุนสูงถึง 549 ล้านบาท*
ขาดทุนเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 10,366%
*ข้อมูลกำไร/ขาดทุนเบ็ดเสร็จรวมสำหรับปี 2563
ที่มา: สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจและงบการเงินปี 2563 ของแต่ละองค์กร