“ฉันคือนานุดต่างดาว” ผู้ใหญ่หลายคนอาจงงเมื่อได้ยินเด็ก ๆ พูดแบบนี้
และเด็กอาจจะงงเมื่อคุณพูดว่า “น่ารักคิกขุมาก”
.
เพราะอายุไม่ใช่เพียงสิ่งเดียวเท่านั้นที่แยกทุก GEN ออกจากกัน “ภาษา” เองก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ทำให้เห็นความแตกต่างในแต่ละเจนได้อย่างชัดเจน
.
เมื่อภาษาแต่ละยุค บ่งบอกถึงบริบททางสังคม และวัฒนธรรมที่แตกต่างกันไปในแต่ละช่วงวัย ความลื่นไหลทางภาษาของแต่ละ GEN จะเป็นอย่างไรบ้าง? #Agenda รวมมาให้แล้ว
.
– GEN Baby Boomer
ภาษาของคน GEN นี้ส่วนมากเน้นภาษาที่สวยงาม มีความคล้องจอง บางครั้งอาจมีการหยิบยกภาษาจากสำนวน สุภาษิต ต่าง ๆ มาพูดในชีวิตประจำวัน สาเหตุอาจเป็นเพราะยุคสมัยนั้นอิทธิพลจากสิ่งต่าง ๆ ยังมีไม่มากนักนอกจากสื่อทางโทรทัศน์ โฆษณา ธรรมะ คน GEN นี้จึงมักหยิบยกคำพูดจากยุคก่อนมาใช้
.
ตัวอย่างคำ
– เชย
– บัดสีบัดเถลิง
– นะจ๊ะ
– ตาเถร
– แจ่มโบ๊ะ
– สันขวาน
– เจ๊งบ๊ง
– กะหล่งก๊ง
– ซังกะบ๊วย
– ดีเลิศ ประเสริฐศรี
.
– GEN X
ภาษาของคน GEN X เริ่มได้รับอิทธิพลจากสิ่งรอบตัว เช่น โฆษณา ภาพยนตร์ ธรรมะ คำคมท้ายรถ หรือนิตยสาร มากขึ้น ทำให้เกิดภาษาที่แตกต่างจากคนยุคก่อน แต่คน GEN นี้ก็ยังคงได้รับอิทธิพลจากสื่อโทรทัศน์เป็นส่วนใหญ่อยู่เช่นเดิม
.
ตัวอย่างคำ
– แหล่ม
– งานเข้า
– พระเจ้าจอร์จมันยอดมาก
– สู้เขา ทาเคชิ!
– ช้าไปต๋อย
– เด๊ดสะมอเร่
– จ๊าบ
– สีทนได้
– กวนโอ๊ย
– สบายบรื๋อ สะดือโบร๋
.
– GEN Y
คนช่วงอายุนี้เริ่มมีอิทธิพลจากสื่อออนไลน์เข้ามา ทำให้คำพูดของพวกเขามีคำศัพท์ที่มาจากการพูดคุยกันบนโลกออนไลน์อย่าง Hi5 MSN หรือจากเว็บบอร์ดออนไลน์อย่าง Pramool.com รวมทั้งบางครั้งศัพท์ที่ใช้ยังมาจากเพลงฮิต หรือ Youtuber จากช่องต่าง ๆ อีกด้วย
.
ตัวอย่างคำ
– lnw
– คิกขุอาโนเนะ
– ชิมิ
– Fus Ro Dah
– หน่อมแน้ม
– ป๊อด
– โอเคซึ้ง
– จุงเบย
– คุณหลอกดาว
– ซับแหมน
.
– GEN Z
หากจะหา GEN ที่เกิดมาพร้อมกับความหลากหลายทางภาษาที่สุดคงไม่พ้นคน GEN นี้อย่างแน่นอน เพราะมีทั้ง ภาษาลู ภาษามะละกอ (มีตั้งแต่ GEN Y แต่ยังมีคนเล่นอยู่) ภาษาพี่กะเทย ภาษาชายแท้ และอีกมากมาย แถมคน GEN นี้ยังชอบเน้นคำสร้อยหรือคำขยายเป็นหลัก ชอบทำคำยาวให้สั้น ทำคำสั้นให้ยาว ทำให้ภาษาของคนในช่วงอายุนี้มีความหลากหลายมาก
.
สื่อที่มีอิทธิพลต่อคำพูดของคนยุคนี้คือ Meme ต่าง ๆ บนโลกออนไลน์ และแพลตฟอร์มอย่าง Tiktok หรือ Youtube ที่มักมีคนสร้างคำใหม่ ๆ ให้เป็นกระแสอยู่เสมอ
.
ตัวอย่างคำ
– ไอต้าว
– ตุยเย่
– ปังมาก
– จะแล้วไหม
– สู่ขิต
– เลือดกรุ๊ปบี
– นาตาชา
– เกียม
– เจ๊อย่าวีน
– ต๊าช
.
– GEN Alpha
เนื่องจากคนใน GEN ส่วนใหญ่ยังเป็นเด็ก ภาษาของพวกเขาจึงมักเป็นการพูดตามผู้ปกครอง หรือพูดตามสื่อที่ดู เช่น การ์ตูน Tiktok เป็นหลักมากกว่าการสร้างศัพท์ใหม่ขึ้นมาเป็นของตนเอง ทำให้คำพูดของคน GEN นี้จึงมีลักษณะที่เปลี่ยนแปลงไปตามกระแสในช่วงนั้น ๆ
.
ตัวอย่างคำ
– ว้าย ตายแล้ว
– ฉันคือนานุดต่างดาว
– ฮะฮะฮ่า
– แจ๋ว
– ว่าแล้วก็ปาย
– ซอซ้าง
– อุนเธอ
– สมองโดดร่ม
– หวานเจี๊ยบ
– ทรงอย่างแบด
.
ภาษาของคนแต่ละ GEN จึงเป็นสิ่งที่เราต้องทำความเข้าใจและเรียนรู้ต่อไป เพราะนอกจากจะทำให้เราสามารถสื่อสารกับคนในช่วงอายุที่แตกต่างกันได้อย่างเข้าใจแล้ว ยังทำให้เราเข้าใจบริบทของสังคมในยุคนั้น ๆ ได้อีกด้วย
.
ที่มา : Younghappy, Dek-d, TrueID, Lifestyle campus