#พระสยามเทวาธิราช หนึ่งในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ถูกยกให้เป็นเทพประจำประเทศไทย ในฐานะผู้ปกปักรักษาประจำเมืองตามความเชื่อ (แม้ในปัจจุบันจะมีการถกเถียงกันในหลายแง่มุม)
อย่างไรก็ดี พระสยามเทวาธิราชเป็นภาพตัวแทนของความเป็นรัฐไทยในมิติทางสังคม ทั้งการเมืองและประวัติศาสตร์ที่คล้ายกับอีกหลายประเทศทั่วโลกอีกด้วย
ลักษณะดังกล่าว เรียกว่า “บุคลาธิษฐาน” คือ การหยิบยกคนหรือสิ่งของที่เป็นรูปธรรมมาเป็นหลักในการอธิบายบางสิ่งบางอย่าง หรืออธิบายให้เข้าใจง่าย ๆ คือ การมีภาพตัวแทนของรัฐที่เล่าเรื่องราวและสะท้อนความสำคัญในมิติอันหลากหลายทั้งล้อเลียน เชิดชูอุดมการณ์ การเมือง หรือชาตินิยม
#AGENDA ชวนทุกคนไปทำความรู้จักตัวอย่าง “บุคลาธิษฐาน” ในฐานะตัวแทนประจำชาติ
ที่ปรากฏในประเทศอื่น ๆ ที่น่าสนใจ จะมีอะไรบ้างไปดูกัน!
1. พระสยามเทวาธิราช 🇹🇭
เป็นเทวดาที่เป็นเสมือนเทพประจำเมือง ที่หน้าที่ดูแล ปกป้อง รักษาคนในชาติให้อยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุข ตามความเชื่อของสยามมาตั้งแต่โบราณ และเริ่มสร้างรูปเคารพขึ้นเมื่อสมัยต้นรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 4
ที่มาที่ไปที่ทำให้ “พระสยามเทวาธิราช” กลายเป็นสัญลักษณ์ของประเทศไทย สอดคล้องกับความเชื่อเรื่องสิ่งเหนือธรรมชาติ กล่าวคือ ประเทศไทยตั้งแต่ยังเป็นสยาม รอดพ้นจากการถูกรุกรานและเสียเอกราชมาหลายครั้งหลายครา ชนชั้นนำจึงเชื่อว่าส่วนหนึ่งน่าจะเป็นเพราะดินแดนนี้มีเทพปกป้องคุ้มครองอยู่
จึงได้มีการผูกความเชื่อเรื่องการดำรงอยู่ของชาติกับพระสยามเทวธิราช เช่น เมื่อบ้านเมืองเจริญรุ่งเรือง จะเกิดจากแรงสนับสนุนและคำอวยพรขององค์เทพ ในขณะเดียวกับเมื่อเกิดอาเพศหรือภัยพิบัติ อาจเกิดจากความโกรธเกี้ยวของเทพ
ความศรัทธาต่อพระสยามเทวาธิราชเริ่มมีเพิ่มมากขึ้น ผ่านการจัดพระราชพิธีของสถาบันกษัตริย์ ที่มักมีการบูชาและบวงทรวง ทำให้ความเชื่อเรื่องพระสยามเทวาธิราชกลายเป็นหนึ่งบุคลาธิษฐานที่เป็นภาพตัวแทนของไทยตั้งแต่อดีตเป็นต้นมา
ปัจจุบัน พระสยามเทวาธิราช ยังถูกใช้เป็นสัญลักษณ์ของธนาคารแห่งประเทศไทยอีกด้วย
2. เทพีบริทาเนีย 🇬🇧
“บริทาเนีย” เคยเป็นชื่อเรียกของภูมิภาคบริเตนใหญ่ (แถบเกาะอังกฤษ) จนมีความเชื่อว่ามีเทพีชื่อ “ทรินาเนีย” เป็นเทพประจำอยู่ ณ ดินแดนนี้
เทพีบรินาเทีย มีรูปลักษณ์ที่ได้อิทธิพลมากจากโรมัน เป็นนักรบหญิงที่มีความน่าเกรงขาม มือหนึ่งถือโล่ อีกมือหนึ่งถือดาบ สวมผ้าคลุม ถูกเริ่มนำมาใช้ในเป็นตัวแทนของอังกฤษในรัชสมัยของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 หมายถึง ผู้พิชิตในการออกสำรวจโพ้นทะเล
ก่อนจะกลายมาเป็นสัญลักษณ์ของจักวรรดินิยมอังกฤษในการออกล่าอาณานิคม ยุคสมเด็จพระนางเจ้าวิคตอเรีย จนอังกฤษถูกขนานนามว่า “ดินแดนที่พระอาทิตย์ไม่ตกดิน” คือ ไม่ว่าพระอาทิตย์สะสาดส่องไปที่ไหนจะมีดินแดนที่ปกครองโดยอังกฤษอยู่เสมอ
ในระยะหลังก็ได้มีการเพิ่มรายละเอียดของเทพีบริทาเนียเข้าไปให้มีความยิ่งใหญ่มากขึ้น เช่น มีสิงโตเป็นสัตว์คู่กาย หรือมีท่านั่งอยู่บนลูกโลก ปัจจุบัน เทพีบริทาเนียถูกใช้เป็นโลโก้อย่างเป็นทางการของธนาคารแห่งชาติอังกฤษคล้ายกับพระสยามเทวาธิราช
3.เทพีอามาเทราสึ 🇯🇵
พระองค์เป็นสุริยเทพตามความเชื้อของศาสนาชินโตและมีมีอิทธิพลต่อสังคมญี่ปุ่น ตามตำนานเชื้อกันว่าจักรพรรดิพระองค์แรกของประเทศญี่ปุ่น พระนามว่า “จิมมุ” เป็นผู้ที่สืบเชื้อสายจากเทพีแห่งดวงอาทิตย์มาจนถึงปัจจุบัน
นั่นทำให้ความเชื่อเกี่ยวกับพระอาทิตย์ฝั่งรากลึกเป็นอีกหนึ่งสังคมญี่ปุ่น และส่งผ่านไปถึงอีกหลายองค์ประกอบ เช่น ธงชาติของญี่ปุ่น หรือ “ฮิโนมารุ” ลักษณะเป็นวงกลมสีแดงบนพื้นสีขาว สีแดงนั้นแสดงถึงพระอาทิตย์
แม้หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จักรพรรดิโชวะ เคยออกมาเปิดเผยว่าความเชื่อเรื่องจักรพรรดิสืบเชื้อสายจากเทพเจ้านั้นอาจไม่มีจริง แต่ปัจจุบัน ยังมีคนญี่ปุ่นจำนวนมากที่เชื่อตำนานอามาเทราสึ
เราอาจจะคุ้นเคยกับฉายาของประเทศญี่ปุ่นอย่าง “ดินแดนอาทิทย์อุทัย” จะเห็นว่ายังคงสอดคล้องกับพระอาทิตย์ ดังนั้น เทพีอามาเทราสึจึงมีอิทธิผลในฐานะเป็นบุคลาธิษฐานประจำชาติญี่ปุ่นอย่างปฏิเสธไม่ได้
4. มารียาน 🇫🇷
ภาพของสตรีผู้ถือธงชาติฝรั่งเศสนำการปฏิวัติในภาพเขียน “เสรีภาพนำทางประชาชน” (La Liberté guidant le peuple) โดย ยูจีน เดอลาครัว (Eugène Delacroix) สัญลักษณ์ของการปฏิวัติฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1830 กลายเป็นสัญลักษณ์ที่ใช้เป็นบุคลาธิษฐานประจำชาติตั้งแต่นั้นมา
นัยยะของ “มารีอาน” คือ ชัยชนะของการปฏิวัติและจิตวิญญาณของเสรีชน ในแบบฉบับของผู้หญิงฝรั่งเศสที่มีสิทธิเสรีภาพและสามารถสร้างความเป็นเปลี่ยนได้
ภาพที่น่าจะคุ้นตาเป็นสตรีที่มือข้างหนึ่งถึงธงชาติฝรั่งเศส อีกข้างถือปืนคาบศิลา ในสภาพกึ่งเปลือยท่อนบน พร้อมสวมหมวกแบบ Phrygian Cap สีแดง กลัดด้วยดอกจันฝรั่งเศส (cockade of france) ซึ่งเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ของกลุ่มปฏิวัติ
ภาพวาดดังกล่าวมีความโด่งดังและกลายเป็นสัญลักษณ์ของชาติในเวลาต่อมา และสามารถพบเห็นได้ทั่วไปในประเทศฝรั่งเศส เช่น เหรียญเงิน รูปปั้น อนุสาวรีย์ ตราประจำรัฐบาล เป็นต้น
5. ลุงแซม 🇺🇸
“ลุงแซม” หรือแซมมูเอล วิลสัน (Samuel Wilson) ตามประวัติศาสตร์ เชื่อกันว่าเป็นคนขายเนื้อเค็มและประทับตรา U.S. ส่งให้ทหารแนวหน้าที่ออกรบ กระทั่งมีคนล้อเลียนแบบขำ ๆ กันว่า U.S. ไม่ได้ย่อมาจาก United State แต่ย่อมาจาก Uncle Sam หรือ ลุงแซม
ภาพของลุงแซมที่โด่งดังที่สุดจนเป็นภาพจำมาจากปกนิตยสาร Leslie’s Weekly ฉบับเดือนกรกฎาคมปี 1916 ฝีมือของ เจมส์ แฟลกก์ ซึ่งภาพดังกล่าวถูกนำไปใช้อย่างแพร่หลายในเวลาต่อมา โดยเฉพาะการรณรงค์ให้ชาวอเมริกันสมัครเข้าเป็นทหารช่วงสงครามโลกทั้งสองครั้ง
เป็นภาพของชายสูงวัย สวมหมวกทรงสูงคาดลายดาว สวมแจ็คเก็ตสีน้ำเงิน ผูกโบว์สีแดง สายตามุ่งมั่นชี้มาที่คนดู พร้อมคำเชิญชวนว่า I Want You For U.S. Army
สงครามโลกครั้งที่ 2 ปรากฏภาพพิมพ์โฆษณาโดยใช้บุลคลาธิษฐานของ 2 ชาติ คือ ลุงแซมที่กำลังคล้องแขนเทพีบริทาเนีย แสดงถึงสัญลักษณ์ถึงพันธมิตรอันดีระหว่างบริเตนและอเมริกา
การที่ “ลุงแซม” กลายเป็นภาพตัวแทนของสหรัฐอเมริกาสะท้อนให้เห็นถึงอิทธิของศิลปะที่สร้างคนธรรมดาให้กลายเป็นสัญลักษณ์ประจำชาติ จนเมื่อปี 1961 รัฐสภาก็ได้ผ่านกฎหมายรับรองว่า “ลุงแซม” คือหนึ่งในสัญลักษณ์แห่งชนชาติอเมริกาอย่างเป็นทางการ
———-
จะเห็นว่า ภาพตัวแทนของรัฐหรือประเทศซึ่งเป็นบุคลาธิษฐาน ปรากฏในรูปแบบแตกต่างกันไปมี เทพ คนธรรมดาหรือศิลปะ ฯลฯ ในขณะเดียวกันต่างก็สะท้อนนัยยะในมิติที่แตกต่าง เช่น ความเชื่อ การเมือง ประวัติศาสตร์ อุดมการณ์ หรือ การต่อสู้ เป็นต้น
ขึ้นอยู่กับว่ามนุษย์จะให้คุณค่ากับบุคลาธิษฐานในลักษณะใด