‘ภาษี’ รายได้หลักของรัฐ ที่จัดเก็บเพื่อนำมาใช้บริหารประเทศ ทะนุบำรุงและสร้างสาธารณูปโภคอำนวยความสะดวก และส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่ประชาชนผู้เสียภาษี
นอกจากนี้ยังเป็นเครื่องมือกระตุ้นเศรษฐกิจ ลดความเหลื่อมล้ำ แก้ไขปัญหาวิกฤตต่างๆ เช่น น้ำท่วม โควิด-19 เป็นต้น
นอกจากนี้ยังมีภาษีที่จัดเก็บเพื่อจุดประสงค์อื่นๆ เช่น ภาษีน้ำตาล/เหล้า/บุหรี่ เพื่อลดปัญหาสุขภาพ เป็นต้น
โดยผู้มีหน้าที่จัดเก็บภาษีก็จะแบ่งออกเป็นกรมต่างๆ เช่น กรมสรรพากร กรมศุลกากร กรมสรรพสามิต ซึ่งกรมที่จัดเก็บภาษีได้มากที่สุดก็คือกรมสรรพากรนั่นเอง
ในปี 2562 กรมสรรพากรสามารถจัดเก็บภาษีได้ 2 ล้านล้านบาท
และประเภทภาษีที่จัดเก็บได้มากที่สุด 3 อันดับคือ
1. ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)
ภาษีที่เราเสียกันทุกคน หากซื้อสินค้า/บริการ ต่างๆ โดยจะมีการบวกภาษีมูลค่าเพิ่มนี้ไว้ 7% แล้ว
ในปี 2562 รัฐจัดเก็บภาษีนี้ได้ 799,851 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 40% จากภาษีทั้งหมดที่เก็บได้
2. ภาษีเงินได้นิติบุคคล
ก็คือภาษีที่รัฐจัดเก็บจากนิติบุคคล หรือบริษัทต่างๆ ในเดือนธันวาคม ปี 2562 มีจำนวนนิติบุคคลทั้งสิ้น 746,298 ราย และในปีเดียวกัน รัฐจัดเก็บภาษีนี้ได้ 694,613 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 35% จากภาษีทั้งหมดที่เก็บได้
3. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
คือภาษีที่รัฐจัดเก็บจากบุคคลทั่วไปที่มีรายได้จากค่าจ้าง เงินเดือน แบบเราๆ นั่นเอง โดยในปี 2562 รัฐจัดเก็บภาษีนี้ได้ 336,365 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 17% จากภาษีทั้งหมดที่เก็บได้
—————-
ถ้าหากดูข้อมูลการจัดเก็บภาษีรายจังหวัดจะพบว่า 6 อันดับจังหวัดที่จัดเก็บภาษีได้มากที่สุด ได้แก่
อันดับ 1
กรุงเทพมหานคร 1.3 ล้านล้านบาท
อันดับ 2
ชลบุรี 156,620 ล้านบาท
อันดับ 3
สมุทรปราการ 99,672 ล้านบาท
อันดับ 4
ระยอง 98,092 ล้านบาท
อันดับ 5
นนทบุรี 42,389 ล้านบาท
อันดับ 6
ปทุมธานี 40,707 ล้านบาท
—————-
ในทางกลับกัน
6 อันดับจังหวัดที่จัดเก็บภาษีได้น้อยที่สุด ได้แก่
อันดับ 1
แม่ฮ่องสอน 194 ล้านบาท
อันดับ 2
ระนอง 490 ล้านบาท
อันดับ 3
อุทัยธานี 404 ล้านบาท
อันดับ 4
สตูล 366 ล้านบาท
อันดับ 5
อำนาจเจริญ 311 ล้านบาท
อันดับ 6
บึงกาฬ 561 ล้านบาท