ต่างยุค ต่างวัย ต่างความคิด การอยู่ร่วมกันจึงเป็นเรื่องที่ท้าทายอย่างมาก เพราะต้องอาศัยความเข้าอกเข้าใจ ❤ ผ่านการสื่อสารที่จะเชื่อม ‘ช่องว่าง’ ระหว่างวัยให้เป็น ‘ความสบายใจ’
สิ่งที่หล่อหลอมให้แต่ละเจนเนอเรชันมีความแตกต่างนั้นคือ การเติบโตมาในสภาพแวดล้อม สังคม เศรษฐกิจและเทคโนโลยีที่แตกต่าง รวมถึงวิกฤติโลกมากมายที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ทำให้คนในแต่ละเจนเนอเรชันต้องฝ่าฟันและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เข้ากับสภาพแวดล้อมขณะนั้น
#Agenda เจาะมาให้แล้ว❗️ วิกฤติที่ได้ส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง หล่อหลอมผู้คนในแต่ละเจน ให้มีความต้องการ และความคิดที่แตกต่างกัน
Baby Boomer
ผู้ที่เกิดในช่วง พ.ศ. 2489-2507
บุคคลตัวอย่าง
ประยุทธ์ จันทร์โอชา👴🏼
มีลักษณะนิสัย
– เป็นคนที่มีมีชีวิตเพื่อการทำงาน เคารพในกฎเกณฑ์ กติกา
– เชื่อว่าตนเองเป็นผู้มีประสบการณ์สูง รวมถึงยังมีความเชื่อมั่นในตัวเองสูงด้วย ทำให้สามารถตัดสินใจดำเนินการและวางแผนกระทำการต่าง ๆ ได้อย่างเด็ดขาด
– ใช้จ่ายรอบคอบและระมัดระวัง
เหตุการณ์หรือวิกฤตที่เกิดขึ้น
– คณะราษฎรปฏิวัติสยาม อันเป็นเหตุให้เกิดประชาธิปไตยแบบไทย ๆ ที่นำไปสู่การได้มาซึ่งรัฐธรรมนูญที่ใช้ในการปกครองประเทศ และเปิดพื้นที่ให้ราษฎรสามารถเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมือง
– หลัง World War II ส่งผลให้สภาพเศรษฐกิจตกต่ำ เพราะ ความรุนแรงของเหตุการณ์ในสงครามโลก ครั้งที่ 2 นั้นมีประสิทธิภาพและกำลังในการทำลายสูง จึงก่อให้เกิดความเสียหายตามมามหาศาล นั่นจึงเป็นสาเหตุของ ‘ภาวะข้าวยากหมากแพง’ ภาวะที่ราคาข้าวของในขณะนั้นมีราคาสูงเกินกำลังของชาวบ้านที่กำลังยากลำบากหลังสงคราม
– สงครามเย็น เกิดขึ้นภายหลังเมื่อสงครามโลก ครั้งที่ 2 ยุติลง ส่งผลให้สหรัฐเมริกาและ
สหภาพโซเวียต ก้าวขึ้นมาเป็นประเทศมหาอำนาจของโลก และเข้ามามีบทบาทและอิทธิพลในทวีปยุโรป และได้ขยายขอบเขตไปยังภูมิภาคอื่น ๆ ทั่วโลกในเวลาต่อมา ส่งผลให้เกิดสงครามอื่นตามมาในที่สุด ตัวอย่างเช่น สงครามเวียดนาม และสงครามเกาหลี เป็นต้น
Gen X
ผู้ที่เกิดในช่วง พ.ศ. 2508-2523
บุคคลตัวอย่าง
พิธา ลิ้มเจริญรัตน์👨🏻
ลักษณะนิสัย
– ชอบความเรียบง่ายและไม่เป็นทางการ
– เปิดกว้างทางความคิด และพร้อมที่จะรับฟัง
– มีความอดทน
เหตุการณ์หรือวิกฤตที่เกิดขึ้น
– การก่อตั้งอาเซียน อันเป็นหนทางการเพิ่มโอกาสทางการค้า และการลงทุนให้กับประเทศ แต่ท้ายที่สุดแล้ว เหรียญย่อมมี 2 ด้านเสมอ มีด้านดี ก็ย่อมมีด้านร้าย ด้านร้ายที่ว่านั้นคือ การมีแรงงานไร้ฝีมือผิดกฎหมายหลั่งไหลเข้ามาในไทยเป็นจำนวนเพิ่มขึ้น
– การปฏิรูปพรรคคอมมิวนิสต์ในโซเวียต ทำให้โซเวียตนั้นอ่อนแอลง จนกระทั่งล้มสลายในที่สุด
– พฤษภาทมิฬ เหตุการณ์ที่ประชาชนเคลื่อนไหวประท้วงรัฐบาล ส่งผลให้ทัศนคติทางการเมืองของผู้คนเปลี่ยนไป
Gen Y
ผู้ที่เกิดในช่วง พ.ศ. 2524-2539
บุคคลตัวอย่าง
ไอติม พริษฐ์👱🏻♂️
ลักษณะนิสัย
– ไม่ชอบอยู่ในกรอบและไม่ชอบเงื่อนไข
– กล้าแสดงออกและกล้าที่จะคิด
– มีความคาดหวังสูง
เหตุการณ์หรือวิกฤตที่เกิดขึ้น
– วิกฤตต้มยำกุ้ง วิกฤตที่ทำให้เศรษฐกิจไทยตกต่ำ ขาดดุลยภาพ ธุรกิจเจ๊ง ผู้คนตกงานสูงถึง 1.4 ล้านคน หลายคนหาทางออกจากวิกฤตินี้ไม่ได้ หมดหนทางที่จะแก้ปัญหา จึงเลือกการ ฆ่าตัวตาย เป็นทางออก ตัวเลขการฆ่าตัวตายของไทยจึงพุ่งสูงถึง 8.59 ต่อแสนประชากร ในปี พ.ศ. 2542
– เหตุการณ์ 9/11 การก่อการร้ายที่เลวร้ายที่สุดในแผ่นดินสหรัฐฯ ส่งผลให้ผู้คนมองโลกต่างไปจากเดิม โดยมีการแบ่งแยกระหว่างคนดีกับคนร้าย “แต่ละชาติ แต่ละภูมิภาค”
– สึนามิภูเก็ต 🏝 เหตุการณ์สลดที่มีผู้เสียชีวิตสูงประมาณ 5,400 คน บาดเจ็บกว่า 8,000 คน และสูญหายอีกจำนวนมาก
Gen Z
ผู้ที่เกิดในช่วง พ.ศ. 2540-2552
บุคคลตัวอย่าง
มิลลิ👩🏻🦰
ลักษณะนิสัย
– มั่นใจในความคิดตัวเอง
– ต้องการคำตอบที่อธิบายถึงเหตุผลและหลักการ
– ให้คุณค่ากับตัวเองและคนรอบข้าง
เหตุการณ์หรือวิกฤตที่เกิดขึ้น
– การรัฐประหารของรัฐบาลประยุทธ์ (คสช.) ที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งของประชาชน ทำให้สิทธิพลเมืองและสิทธิทาางการเมืองถูกระงับ กองทัพมีอำนาจในการเมืองไทยมากขึ้น ประชาชนในประเทศบ้างก็ได้รับความเดือดร้อน เกิดความเหลื่อมล้ำมากมายขึ้นในสังคม ท้ายที่สุดก็ได้เกิดการต่อต้านรัฐบาลชุดนี้อยู่นับครั้งไม่ได้
– วิกฤตโรคระบาดไวรัสโควิด🦠 วิกฤตร้ายแรงที่ทำให้ทั่วโลกตกเป็นเหยื่อ ทุกประเทศได้รับผลกระทบ ไม่แม้แต่ประเทศไทยเอง หลาย ๆ บริษัทในไทยเกิดการหยุดชะงัก หนี้ครัวเรือนพุ่งสูงถึง 14.27 ล้านล้านบาท แถมเศรษฐกิจยังชะลอตัวเป็นระยะเวลายาวนานเกือบ 3 ปี ผู้คนตกงาน เด็กจบใหม่หางานไม่ได้
– สงครามรัสเซีย-ยูเครน ความขัดแย้งกันระหว่างประเทศ ที่สั่นสะเทือนไปทั่วโลก เกิดการขาดแคลนทรัพยากร ราคาสินค้าต่าง ๆ ปรับตัวสูงขึ้น กลายเป็นว่า ไทยเรามีอัตราเงินเฟ้อพุ่งแรงถึง 5.73% สูงสุดในรอบ 13 ปี
ทุกวิกฤตย่อมมีบทเรียน ทุก ๆ การถูกหล่อหลอมจากหลาย ๆ เหตุการณ์ที่ทำให้แต่ละเจนมีความคิดต่าง ย่อมได้หล่อหลอมคนดี ๆ ในสังคมขึ้นมาอยู่มากมายให้เราได้เห็นเป็นตัวอย่าง แต่อย่างว่าการที่แต่ละเจนเนอเรชันมีความคิดที่ต่างกัน ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างวัย ซึ่งช่องว่างที่ว่านี้สามารถใช้หลักความเข้าใจ ใส่ใจ และใช้เหตุผลในการอยู่ร่วมกันมาแก้ไขได้