เด็กขาดสารอาหาร จะเอาเรี่ยวเอาแรงจากไหนไป ‘เรียนรู้’ 💡 3 ต้นตอปัญหาทุพโภชนาการ สาเหตุที่เด็กไทยไม่พัฒนาเท่าที่ควร

Highlight

วันนี้ เด็กวัยเรียนกินข้าวเที่ยงกับอะไร ? คำถามชวนสงสัยที่สะท้อนความกังวลเรื่องภาวะโภชนาการในเด็ก แน่นอนว่าทุกคนคงต้องการให้เด็กวัยเรียน (ที่จะเป็นอนาคตของชาติ) ได้กินดีอยู่ดี กินอาหารที่มีประโยชน์ ได้รับสารอาหารและพลังงานเพียงพอ แต่ ❗ ในความเป็นจริงเป็นอย่างนั้นหรือไม่ ❓

ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุขปี 2564 ระบุว่า 1 ใน 3 ของเด็กวัยเรียน อายุ 6-14 ปี ประมาณ 2.9 ล้านคนมีภาวะทุพโภชนาการ ซึ่งอาจสะเทือนไปถึงคุณภาพของประชากรในอนาคต ทั้งในมิติเศรษฐกิจและสังคม เนื่องจากส่งผลต่อการเจริญเติบโตด้านร่างกาย ใจ สติปัญญา หากในช่วงวัยดังกล่าวไม่ได้รับการดูแลภาวะโภชนาการที่เหมาะสม เด็กจึงอาจไม่แข็งแรง ป่วยง่าย และมีพัฒนาการการเรียนรู้ที่บกพร่อง

ความหวังของเด็กวัยเรียนที่จะได้กินของดี ๆ ในมื้อกลางวันอยู่ภายใต้การดูแลของกระทรวงศึกษาธิการ อย่างไรก็ดี นโยบายเพื่อสนับสนุนค่าอาหารกลางวันให้แก่เด็กนักเรียนอนุบาล – ประถมศึกษาตกอยู่ที่หัวละ 21 บาทเท่านั้น สถานศึกษาจึงต้องแบกรับการบริหารจัดการให้เกิดความเพียงพอและพอดี ซึ่งไม่ใช่ทุกโรงเรียนจะทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะแต่ละแหล่งก็มีปัจจัยและต้นทุนเฉพาะที่แตกต่างกันไป

หากจัดการดี ผลดีก็เกิดขึ้นกับเด็ก แต่หากจัดการไม่มีคุณภาพ กรรมก็ตกกับเด็กเช่นกัน #Agenda พาไปดู 3 ความซับซ้อนที่เป็นปัจจัยของปัญหาทุพโภชนาการในเด็กวัยเรียน มีอะไรบ้างมาดูกัน

1) งบประมาณรายหัวไม่เพียงพอและทั่วถึง 💸

ข้อมูลจากกรมอนามัย เผยว่าเด็กในชนบทจะมีโอกาสขาดสารอาหารมากกว่าเด็กในเมือง โรงเรียนห่างไกลหรือโรงเรียนขยายโอกาสที่จำนวนเด็กน้อยกว่าจะแบกรับต้นทุนสูงกว่าจนเกิดความไม่เสนอภาคในการเข้าถึงอาหารที่มีคุณภาพ งบประมาณรายหัวคนละ 21 บาทต้องนำมาเฉลี่ยทั้งค่าวัตถุดิบ ค่าขนส่งค่าเก็บรักษา ค่าแม่ครัว และอื่น ๆ ค่าอาหารรายหัวอาจตกไปเหลือราว 9-15 บาทต่อมื้อต่อหัวเท่านั้น

2) ละเลยองค์ความรู้ด้านโภชนาการ 👩‍🍳

อาหารคุณภาพไม่ได้วัดด้วยราคา หลายโรงเรียนไม่ได้ให้ความสำคัญกับโภชนาการเด็กเท่าที่ควร ขาดทักษะ องค์ความรู้ เพื่อจะทำอาหารให้เด็กนักเรียนกินอย่างถูกต้อง เน้นความคุ้มค่าอาหารมากกว่าการส่งเสริมโภชนาการในเด็ก ทำให้เด็กไม่มีโอกาสเข้าถึงอาหารที่มีคุณภาพมากพอ จำเป็นต้องกินอาหารที่ถูกจัดไว้เท่านั้น ประเทศไทยจึงควรมีนักโภชนาการท้องถิ่นเพื่อดูแลอาหารการกินให้คนในชุมชน

3) การทุจริตค่าอาหารกลางวันนักเรียน 💰

ปรากฏข่าวอยู่เป็นระยะกับภาพอาหารนักเรียน เช่น น้ำแกงวิญญาณไก่ กินขนมจีนกับน้ำปลา เป็นต้น กลายเป็นช่องโหว่ที่ผู้ใหญ่ทุจริตและรังแกเด็ก เด็กวัยเรียนจึงไม่ได้รับประทานอาหารที่ถูกต้องตามหลักโภชนาการ ขาดสารอาหาร และอาจส่งผลต่อความสมบูรณ์ของสุขภาพในระยะยาว ซึ่งเป็นหน้าที่ของทุกคนในสังคมทีจะต้องช่วยกันดูแลสอดส่อง และมีกระบวนการตรวจสอบความโปร่งใสอย่างสม่ำเสมอ

ทั้งนี้ มีความพยายามที่จะเพิ่มงบประมาณอาหารกลางวันในเด็กวัยเรียนโดยคิดตามขนาดโรงเรียน โดยขนาดเล็กได้ 36 กลางได้ 30 และใหญ่ได้ 24 แต่ยังไม่เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม ก่อนที่เด็กนักเรียนจะมีภาวะทุพโภชนการมากขึ้นจนกระทบต่อนาคตประเทศ

ปัจจุบัน หลายองค์กรจึงเข้ามามีส่วนร่วมในการเพิ่มคุณภาพโภชนการในเด็ก เช่น โครงการ FOOD FOR GOOD (ฟู้ดฟอร์กู๊ด) ที่ต้องการส่งเสริมความเข้าใจที่ถูกต้องในเรื่องการจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนผ่านการส่งมอบองค์ความรู้นี้ให้ครูและแม่ครัว กระทั่งสามารถวางแผนเมนูอาหารได้เหมาะสมกับเด็กมากขึ้น และดูแลเด็กรายบุคคลได้ดียิ่งขึ้น

ล่าสุดกับแคมเปญ “ถาดหลุมที่ไม่รักแต่คิดถึง” โดยมี “ควิซ” หรือ “คำถาม” เป็นตัวกระตุ้นคนในสังคมที่เข้ามาติดตามแคมเปญนี้ผ่านหน้าเวบ http://www.foodforgood.or.th  ได้มีส่วนร่วมรับรู้ถึงข้อเท็จจริง โดยที่คาแคกเตอร์ในควิซจะสื่อสารข้อเท็จจริงของปัญหาโภชนาการในเด็กไทย

โดยได้รับแรงสนับสนุนจากพลังของสื่อบุคคลหรือ “อินฟลูเอนเซอร์” มากมาย เช่น อเล็กซ์ เรนเดล, ครูลูกกอล์ฟ (คณาธิป สุนทรรักษ์), ครูทอม (จักรกฤต โยมพยอม) และคอนเทนต์ครีเอเตอร์ที่มีผู้ติดตามมากมาย ไม่ว่าจะเป็น Gluta Story ,Bird Eye View และ Offtography รวมไปถึงการให้สัมภาษณ์ถึงประเด็นเรื่องอาหารที่ยืนยันว่าไม่ใช่เรื่องของเด็กเท่านั้น

ผู้ที่สนใจสามารถร่วมบริจาคได้ที่ http://www.foodforgood.or.th/  เงินบริจาคสามารถลดหย่อนภาษีได้ตามแต่กรณีผ่านระบบ e-donation ที่ต่อตรงถึงกรมสรรพากร

“เรื่องอาหารกลางวันในโรงเรียนของเด็กไทย ไม่ใช่แค่เรื่องของเด็กชนบท ครูโรงเรียนขนาดเล็ก หรือนักโภชนาการ แต่เป็นเรื่องของเราทุกคน”

#ถาดหลุมที่ไม่รักแต่คิดถึง #FOODFORGOOD #มูลนิธิยุวพัฒน์

Popular Topics