ต่างวัย ต่างแผน วางแผนพิชิตความมั่งคั่ง

Highlight

อยากมีเงิน “ล้านแรก” ในชีวิต

อยากมีเงิน “10 ล้าน”

ไว้ใช้ยามเกษียณ

หลายคนมองว่า ‘2 ความอยาก’ นี้คงไม่มีวันเป็นจริง เพราะทุกวันนี้ ยังเดือนชนเดือน เงินเข้าสิ้นเดือน ต้นเดือนก็ออกเกือบหมดแล้ว

นี่เป็นปัญหาของคนไทยส่วนใหญ่ซึ่งยังขาดความรู้ในการ ‘วางแผนการเงิน’

ไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไรดี? ปัญหานี้แก้ได้! ด้วยการเริ่ม “วางแผนการเงิน” เติมความรู้การลงทุนได้ตั้งแต่วันนี้ที่ www.setinvestnow.com มีความรู้และเครื่องมือทางการเงินสำหรับคนไทยทุกวัยให้เรียน ให้ใช้ฟรีเพียบ ตอบทุกโจทย์การลงทุน

โดย #SETSource

อยากมีเงินล้านแรกในชีวิต

อยากมีเงิน 10 ล้านไว้ใช้ยามเกษียณ

หลายคนมองว่า ‘2 ความอยาก’ นี้คงไม่มีวันเป็นจริง

เพราะทุกวันนี้ยังเดือนชนเดือน

เงินเข้าสิ้นเดือน ต้นเดือนก็ออกเกือบหมดแล้ว

นี่เป็นปัญหาของคนไทยส่วนใหญ่ซึ่งยังขาดความรู้ในการ ‘วางแผนการลงทุน’ 

แล้วถ้าอยากมีความรู้เรื่องนี้ควรจะเริ่มต้นอย่างไรดี?

สิ่งสำคัญอย่างแรกเลยก็คือเช็คตัวเอง ว่า

1. มีพฤติกรรมใช้จ่ายแบบไหน

รู้จัก พฤติกรรมใช้จ่าย ของตัวเราเองได้ จากการ บันทึกรายได้-ค่าใช้จ่าย 

ยิ่งตอนนี้มี Happy Money Aplication แอปที่ช่วยให้เราบันทึกรายได้-ค่าใช้จ่ายตามหมวดหมู่ 

การบันทึกเป็นประจำ จะทำให้เห็นว่า เงินของเรา “หมดไปกับค่าใช้จ่ายหมวดหมู่ไหนมากที่สุด”

เป็นค่าใช้จ่ายจำเป็น ลดไม่ได้ มากแค่ไหน และจะปรับลดค่าใช้จ่ายอะไรได้บ้าง

ถ้าเราปรับลดค่าใช้จ่ายไม่จำเป็นลงได้ เท่ากับว่าเราก็จะแบ่งเงินมาเก็บตามเป้าหมายในแผนการเงินได้มากขึ้นด้วย

2. มีภาระอะไรบ้าง

3. เป้าหมายในการเก็บเงินและลงทุน

สำหรับข้อ 2. และ 3. มักจะเกี่ยวข้องกับ ‘ช่วงวัย’ ของเรา

เพราะใน ‘ช่วงวัย’ ที่แตกต่างกันส่วนใหญ่แล้วจะส่งผลต่อปัจจัยอื่น ๆ ด้วย

คือ เป้าหมายในการเก็บเงิน ระยะเวลาลงทุน ลักษณะรายได้รายจ่าย และความเสี่ยงที่ยอมรับได้

มาดูกันว่าแต่ละช่วงวัยเหมาะกับแผนการลงทุนแบบไหนบ้าง


First Jobber/วัยทำงาน 

อายุ 20-30 ปี

เมื่อเข้าสู่วัยทำงาน หลายคนจะเริ่มมีรายได้จากเงินเดือน และรายได้เสริมอื่น ๆ

เป็นโอกาสที่ดีที่เราจะวางแผนการเงินไว้เลย

ถ้าเราแบ่งรายได้เป็นสัดส่วน ว่าส่วนไหนจะใช้จ่ายอย่างไร ลงทุนเท่าไหร่ เก็บเท่าไหร่

นอกจากจะช่วยให้ถึงเป้าหมายการเงินได้เร็วขึ้น ไม่ว่าจะทำงานเพื่อเก็บเงินไปเรียนต่อ อยากซื้อรถ หรืออยากเก็บเงินก้อนไว้ลงทุน 

การวางแผนการเงินตั้งแต่เนิ่น ๆ ยังช่วยยับยั้งใจเราให้ไม่เผลอรูดบัตรเครดิตเพลิน จนก่อหนี้เกินตัว ซึ่งเป็นปัญหาที่พบมากในคนรุ่นใหม่ด้วย

และส่วนใหญ่ วัยทำงานเริ่มต้นกลุ่ม First Jobber จะยังไม่มีภาระรับผิดชอบมากนัก ถ้าต้องการลงทุนก็ยังสามารถเลือกการลงทุนความเสี่ยงสูงในสัดส่วนที่สูงได้ เพื่อโอกาสรับผลตอบแทนที่มากขึ้น

สัดส่วนการลงทุนที่สอดคล้องกับเป้าหมายและวัย

10% – การลงทุนที่ความเสี่ยงต่ำ เช่น ฝากธนาคาร ตราสารหนี้ พันธบัตรรัฐบาล กองทุนรวมตลาดเงิน

20% – ความเสี่ยงปานกลาง เช่น กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ตราสารหนี้เอกชน กองทุนรวมผสม กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ทรัสต์

70% – ความเสี่ยงสูง เช่น หุ้น/อนุพันธ์ ทองคำ น้ำมัน กองทุนรวมหุ้น

วัยทำงานหลายคน พลาดความสุขวัยเกษียณ เพราะเมิน ‘กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ’

‘กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ’ ช่วยให้เรามีเงินสะสมไว้ใช้ตอนเกษียณอายุได้ แต่วัยทำงานหลายคนมองข้ามไป เพราะคิดว่าเก็บเงินเองสภาพคล่องดีกว่า (ถอนเมื่อไหร่ก็ได้) หรือลงทุนเองได้ดอกเบี้ยมากกว่า

แต่เราต้องไม่ลืมว่า ‘กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ’ นั้น บริษัทฯ ช่วยสมทบทุนให้ด้วย จนในที่สุดเป็นเงินก้อนที่เราพึ่งพายามเกษียณได้

ลองศึกษา เทคนิคเลือกนโยบายกองทุนสำรองเลี้ยงชีพให้เหมาะสมลงตัว ได้ที่นี่


วัยสร้างครอบครัว

อายุ 31- 45 ปี

วัยนี้เป็นวัยที่ทำงานมาได้สักระยะหนึ่งแล้ว หน้าที่การงานเริ่มมั่นคง 

อย่างไรก็ตาม ถึงวัยนี้จะมีรายได้ที่สูงขึ้น แต่ก็อาจมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นด้วย จากหนี้สินระยะยาว เช่น บ้าน รถยนต์ เป็นต้น หรือบางคนมีแผนสร้างครอบครัว อาจต้องวางแผนค่าใช้จ่ายสำหรับลูกที่เพิ่มขึ้นด้วย

วัยสร้างครอบครัว จึงต้องวางแผนบริหารจัดสรรเงินให้ดี คุมค่าใช้จ่าย และออมเงินสำหรับเป็นเงินเก็บฉุกเฉิน สัดส่วนการลงทุนความเสี่ยงสูงก็ไม่ควรจะเยอะเกินไปด้วยเช่นกัน

สัดส่วนการลงทุนที่สอดคล้องกับเป้าหมายและวัย

20% – การลงทุนที่ความเสี่ยงต่ำ เช่น ฝากธนาคาร ตราสารหนี้ พันธบัตรรัฐบาล กองทุนรวมตลาดเงิน

30% – ความเสี่ยงปานกลาง เช่น กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ตราสารหนี้เอกชน กองทุนรวมผสม กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ทรัสต์

50% – ความเสี่ยงสูง เช่น หุ้น/อนุพันธ์ ทองคำ น้ำมัน กองทุนรวมหุ้น


วัยมั่นคง 

อายุ 46-60 ปี

วัยมั่นคงอยู่ในโค้งสุดท้ายก่อนจะเข้าสู่วัยเกษียณ ถึงวัยนี้ เป็นวัยที่สร้างความมั่นคงทางการเงินจนพร้อมที่สุด แต่เรายังหารายได้เพิ่มต่ออีกไม่กี่ปี เราจึงต้องวางแผนลงทุนให้เงินเก็บงอกเงยอย่างมีประสิทธิภาพ มีสัดส่วนการลงทุนความเสี่ยงต่ำและปานกลางมากที่สุด และความเสี่ยงต่ำ

สัดส่วนการลงทุนที่สอดคล้องกับเป้าหมายและวัย

30% – การลงทุนที่ความเสี่ยงต่ำ เช่น ฝากธนาคาร ตราสารหนี้ พันธบัตรรัฐบาล กองทุนรวมตลาดเงิน

50% – ความเสี่ยงปานกลาง เช่น กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ตราสารหนี้เอกชน กองทุนรวมผสม กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ทรัสต์

20% – ความเสี่ยงสูง เช่น หุ้น/อนุพันธ์ ทองคำ น้ำมัน กองทุนรวมหุ้น


วัยเก๋า 

อายุ 60 ปีขึ้นไป

เมื่อถึงวัยเก๋า ถ้าใครเกษียณแล้วนอกจากเป้าหมายการลงทุน จะเป็นเงินที่เพียงพอต่อการดำรงชีวิต และค่ารักษาพยาบาลที่อาจเพิ่มขึ้นตามปัญหาสุขภาพ รวมถึงเตรียมส่งมอบความมั่งคั่งให้กับลูกหลาน

สัดส่วนแผนการลงทุน ก็ต้องเน้นที่การลงทุนความเสี่ยงต่ำ มุ่งเน้นการเติบโตของเงิน และไม่ต้องการสูญเสียเงินต้นที่ลงทุนไป

สัดส่วนการลงทุนที่สอดคล้องกับเป้าหมายและวัย

50% – การลงทุนที่ความเสี่ยงต่ำ เช่น ฝากธนาคาร ตราสารหนี้ พันธบัตรรัฐบาล กองทุนรวมตลาดเงิน

40% – ความเสี่ยงปานกลาง เช่น กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ตราสารหนี้เอกชน กองทุนรวมผสม กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ทรัสต์

10% – ความเสี่ยงสูง เช่น หุ้น/อนุพันธ์ ทองคำ น้ำมัน กองทุนรวมหุ้น


จะอยู่วัยไหน ถ้า ‘วางแผนการเงิน’ เป็นแล้ว ไม่ว่าจะเงินล้านแรกในชีวิต หรือเงิน 10 ล้านไว้ใช้ยามเกษียณ ก็ไม่ใช่สิ่งที่เกินเอื้อมแน่นอน

เรื่องเงินเรื่องใหญ่ แต่ไม่ใช่เรื่องยาก

แค่เริ่มศึกษาการ ‘วางแผนการเงิน’ และเติมความรู้การลงทุนได้ตั้งแต่วันนี้ใน Happy Money #เงินทองต้องวางแผน ที่มีความรู้ทางการเงินให้เรียนฟรีเพียบ และมีพี่เลี้ยงการเงินช่วยดูแลให้คำปรึกษาอีกด้วย
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.set.or.th/happymoney

Popular Topics