ฤา ‘ประเทศไทย’ กำลังจะเจอ 6 คลื่นซัดอีกครั้ง?

Highlight

หลังอดทนต่อมาตรการล็อกดาวน์ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา

ซึ่งหยุดวิถีชีวิตของผู้คน การออกไปทำงาน หรือแม้แต่ตกงาน ปิดกิจการ

ต้องกักขังตัวเองอยู่ที่บ้าน ให้ความร่วมมือกับมาตรการภาครัฐอย่างเต็มที่

แต่ก็จะคุ้มค่า เมื่อผู้ติดเชื้อรายวันค่อยๆ ลดลง

จากเดิมที่สถานการณ์กำลังจะค่อยๆ ดีขึ้น เศรษฐกิจก็กำลังจะฟื้นตัว

.

แต่ข่าวใหญ่ของเมื่อวาน ที่มีการพบผู้ติดเชื้อซึ่งเป็นทหารอียิปต์ที่เข้ามาในจังหวัด #ระยอง

ไปจนถึงครอบครัวของคณะฑูต ที่ได้รับการยกเว้นการกักตัว

และว่าได้เดินทางไปยังสถานที่สาธารณะต่างๆ

เป็นเสมือนคลื่นความกลัวระลอกใหม่ ที่ซัดสาดไฟความหวังของคนไทยจนวูบไหว

.

คำถามที่เกิดขึ้นตามมาคือ ‘ถ้ามีการระบาดระลอก 2 ต้อง ‘หยุดทุกอย่าง’ อีกครั้ง จะเกิดอะไรขึ้น?’

ทุกอย่างจะแย่มากแค่ไหน?

.

#Agenda จะสรุปให้ครับ

.

คลื่นซัด ‘การท่องเที่ยว’

.

ก่อนหน้านี้ช่วงวันหยุดยาวปลายเดือนกรกฎาคม

ยอดจองโรงแรมแทบจะเต็ม 100%

ร้านอาหารเตรียมพร้อมรับลูกค้าเต็มอัตรา

เศรษฐกิจท่องเที่ยวกำลังจะฟื้นตัว

.

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยระบุว่า รายได้จากการท่องเที่ยวในปี 2563

จะตกอยู่ที่ประมาณ 5.5 แสนล้านบาท แต่ก็ยังน้อยกว่าปีที่ผ่านมาถึง 55%

.

แต่พอมีข่าวผู้ติดเชื้อ

การท่องเที่ยวจ.ระยองก็พังพินาศในพริบตา คนแห่แหนกันยกเลิกที่พักที่จองไว้กว่า 90%

.

หากมีการระบาดเพิ่ม ทุกอย่างอาจโดนล้มกระดานลง ตัวเลขรายได้อาจไม่ถึงเป้าต่ำสุดด้วยซ้ำไป

.

ที่น่าเป็นห่วงที่สุด คือ ‘เงินทุน’ ของผู้ประกอบการรายย่อย ที่ไม่ได้มีเงินถุงเงินถัง หากต้องเบรกธุรกิจรอบนี้จนขาดทุนอีก ก็ไม่รู้ว่ารอบหน้าจะมีเม็ดเงินลงทุนมาใหม่อีกเมื่อไหร่ ตัวเลขการจ้างงานก็จะยิ่งหดตัวตามไปอีก

.

ฝั่งนักท่องเที่ยวเอง ก็จะมีกำลังซื้อน้อยลง เพราะอาจมีคนได้รับผลกระทบหนักขึ้นจากการระบาดรอบสอง

.

แล้วคราวนี้ ภาคการท่องเที่ยวไทย ที่เป็นแรงกระตุ้นเศรษฐกิจสำคัญ อาจจะฟื้นตัวกลับมาได้ลำบากแล้ว

————–

คลื่นซัด ‘เศรษฐกิจ’

.

-5% คือตัวเลขคาดการณ์ การหดตัวของเศรษฐกิจไทยในปี 2563

หากไม่มีการระบาดรุนแรงอีกระลอก

ซึ่งการคาดการณ์นี้หนักที่สุดในรอบหลาย 10 ปี นับตั้งแต่วิกฤติต้มยำกุ้ง

ถ้าหากมีการระบาดรุนแรงอีกระลอก ก็บอกได้แค่ว่า ใครที่ยังพอมีหนทาง ก็รัดเข็มขัดกันไว้ให้ดี

.

ส่วน ‘สถานการณ์หนี้ครัวเรือน’ นั้นน่าเป็นห่วงมาตั้งแต่ก่อนโควิดระบาด

แม้จะมีการช่วยเหลือด้วยการพักชำระหนี้ก็ตาม แต่ก็มีแนวโน้มที่จะเกิดหนี้เสียสูงมาก หากลูกหนี้ยังอยู่ในภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้

.

หากถามว่า แล้วการเยียวยาจากภาครัฐล่ะ หวังได้ไหม?

จากการระบาดคราวก่อน มาตรการ #เราไม่ทิ้งกัน มีการเยียวยา 5,000 บาท (3 เดือน)

แม้สถานการณ์หนี้สาธารณะของไทยที่ 7 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็น 41% ของ GDP นั้นไม่ได้อยู่ในขั้นแย่ แต่จากสถานการณ์ที่ผ่านมา ทำให้ต้องตั้งคำถามในใจว่า ภาครัฐจะเลือกใช้จ่ายแบบจำเป็นและถูกจุดได้หรือไม่?

————–

คลื่นซัด ‘การศึกษา’

.

อีกอย่างที่น่าเป็นห่วงคงไม่พ้นเด็กๆ ที่เป็นอนาคตของชาติ

เพียงแค่ข่าวเริ่มต้นระบาด ก็มีประกาศปิดโรงเรียนในจังหวัดระยองไปแล้วกว่า 147 โรงเรียน

.

หลายคนอาจมองว่า ก็เรียนออนไลน์ได้ไม่มีปัญหาอะไร

แต่อย่าลืมว่า การเรียน สอบ ออนไลน์ ล้วนต้องมีทรัพยากรที่จำเป็นครบถ้วนเพียงพอ

.

ดูอย่างกรณีศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่เข้าใจในจุดนี้ และออกมาตรการรองรับช่วยเหลือ ทั้งให้อินเทอร์เน็ตฟรี ลดภาระค่าเทอม ส่งถุงยังชีพให้ถึงหอ เพื่อลดภาระค่าส่งอาหาร (อ่านต่อได้ที่ : https://bit.ly/3erXpcr)

.

หากต้องปรับมาเรียนออนไลน์ระยะยาวจริงๆ นักเรียนที่ไม่มีทรัพยากรพร้อมพอ จะได้รับการช่วยเหลือ ให้เสมือนกับที่มาเรียนปกติได้หรือไม่? ในเมื่อที่ผ่านมา สำหรับผู้ใหญ่แล้ว เรื่องนี้ดูจะไม่เป็นที่ใส่ใจ ถกเถียงหาวิธีแก้อย่างจริงจังเท่าทรงผมหรือเครื่องแบบของนักเรียน

————–

ไร้คลื่น ‘หน้ากากอนามัย’

.

เรามั่นใจว่าทุกคนยังไม่ลืมภาวะหน้ากากอนามัยขาดตลาดทั้งที่จำเป็นต้องใช้ ไหนจะประเด็นกักตุนหน้ากากอนามัย หน้ากากอนามัยล่องหน ที่ภาครัฐสัญญาว่าจะมีหน้ากากราคาถูกวางขายทั่วไปอย่างเพียงพอ

.

ทุกวันนี้ก็ยังเจอคนบ่นอยู่เนืองๆ ว่าเขาขายกันที่ไหน ต้องใช้หน้ากากผ้าแทนมานานแล้ว ก็ยังหาซื้อหน้ากากอนามัยไม่ได้

.

ทั้งๆ ที่ นี่คือคลื่นเดียว ที่ประชาชนอย่างเราๆ อยากให้กลับมาซัดสาดมากที่สุด

.

ข้อมูล :

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, dailynews, Amarin News

Popular Topics