ระบบเศรษฐกิจที่กำลังพัฒนาก้าวไปข้างหน้า มีหลายปัจจัยที่ส่งผลให้เกิด “เงินเฟ้อ” หรือ ภาวะที่ระดับราคาข้าวของในประเทศหนึ่งสูงขึ้นต่อเนื่อง แต่มูลค่าของเงินกลับลดลง หมายความว่าเราต้องใช้เงินมากขึ้น เพื่อให้ได้สินค้าในปริมาณเท่าเดิม
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด คือ ปรากฏการณ์เนื้อหมูแพงในประเทศไทย 🐷 เท่ากับว่าคนไทยซื้อหมูได้ปริมาณน้อยลงในราคาเท่าเดิมหรือต้องจ่ายค่าเนื้อหมูแพงขึ้นกว่าแต่ก่อน ซึ่งมีสาเหตุมาจากต้นทุนในการเลี้ยงที่เพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็นค่าอาหาร ค่าดูแล และค่าใช้จ่ายด้านการป้องกันโรคระบาดของหมูส่งผลให้ผู้เลี้ยงรายย่อยลดสัดส่วนการเลี้ยงหมูลง ปริมาณเนื้อหมูในตลาดจึงลดลง สวนทางกับความต้องการของเนื้อหมูที่ยังมีเท่าเดิมและมีแนวโน้มสูงขึ้นต่อเนื่อง
#Agenda พาเทียบอัตราเงินเฟ้อ-สภาพเศรษฐกิจปัจจุบันของไทยและต่างประเทศ พร้อมคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อในอนาคต 💸
1) จีน 🇨🇳
ธนาคารโลกเผยว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนในปี 2564 อยู่ที่ร้อยละ 8.5 โดยการฟื้นตัวของจีนขยายวงกว้างขึ้นเนื่องจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจยังทยอยกลับสู่ภาวะปกติอย่างต่อเนื่อง ภายใต้การป้องกันและควบคุมสถานการณ์แพร่ระบาดที่มีประสิทธิภาพ
การเติบโตที่เพิ่มขึ้นของเศรษฐกิจจีนในปี 2564 เมื่อเทียบกับปี 2563 นั้นได้แสดงถึงแนวโน้มเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง แม้จีนต้องเผชิญกับปัญหาทางเศรษฐกิจจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส จีนก็ยังคงมีอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้นสูง ซึ่งสวนทางกับประเทศอื่น ๆ ที่อาจมีอัตราการเติบโตเศรษฐกิจที่ลดลง และจีนมีอัตราเงินเฟ้อพุ่งขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบ 13 ปีและมีแนวโน้มว่าเงินเฟ้อของจีนจะมีค่าคงที่ โดยมีอัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำกว่า 2%
2) สิงคโปร์ 🇸🇬
ประเทศเศรษฐกิจสำคัญในอาเซียน มีการเติบโตของเศรษฐกิจหดตัวลงถึงร้อยละ 5.8 หลังเผชิญกับการเเพร่ระบาดเชื้อไวรัสซ้ำตลอดปี สิงคโปร์จึงเร่งกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างเต็มที่ในปี 2564 โดยการเป็น “จุดศูนย์กลาง” ขนส่งวัคซีนไปทั่วภูมิภาค
สิงคโปร์จึงเป็นหนึ่งในประเทศที่กระจายวัคซีนได้ดีที่สุดและในปี 2564 สิงคโปร์จึงมีการเติบโตที่เพิ่มขึ้นจากเดิมแต่ก็ยังคงมีค่าติดลบอยู่ที่ร้อยละ 5.5 เนื่องมาจากภาคก่อสร้าง ธุรกิจการบิน การท่องเที่ยวและการบริการชะลอตัว จากการแพร่ระบาด และความขัดแย้งทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีน โดยสิงคโปร์ก็เป็นประเทศที่มีอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้นถึงร้อยละ 2.5 ทางรัฐบาลสิงคโปร์จึงปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อช่วยให้เศรษฐกิจของสิงคโปร์ฟื้นตัว
3) สหรัฐอเมริกา 🇺🇸
การเติบโตเศรษฐกิจในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส ส่งผลให้ปี 2563 สหรัฐอเมริกามีอัตราการเติบโตลดลงถึงร้อยละ 3.5 และหลังจากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในปี 2564 อัตราการว่างงานจากพิษของโรคระบาดได้ลดลง ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคทั้งค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้าและบริการที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้สหรัฐอเมริกาเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.9 โดยมีแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อของปี 2565 อยู่ที่ร้อยละ 4.9 “เจเน็ต เยลเลน” รัฐมนตรีการคลังสหรัฐจึงได้แสดงความเชื่อมั่นว่า สหรัฐจะสามารถควบคุมเงินเฟ้อได้ พร้อมกับคาดการณ์ว่า อัตราเงินเฟ้อจะกลับสู่ระดับปกติภายในช่วงครึ่งหลังของปี 2565
4) เวียดนาม 🇻🇳
เป็นอีกประเทศหนึ่งที่เศรษฐกิจขยายตัวสูงที่สุดในโลก เนื่องจากมีการควบคุมโรคระบาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้การบริโภคและการลงทุนฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว ทำให้ผู้บริโภคสามารถกลับมาจับจ่ายรวมถึงบริโภคสินค้าได้ เศรษฐกิจในภาพรวมจึงยังคงขยายตัวได้เล็กน้อย โดยอัตราการเติบโตเศรษฐกิจของเวียดนามในปี 2564 มีการขยายตัวต่อเนื่องอยู่ที่ร้อยละ 6.5 ขณะที่อัตราเงินเฟ้อยังคงอยู่ในกรอบระดับต่ำกว่าร้อยละ 4 ซึ่งก็คือร้อยละ 3.7
5) ไทย 🇹🇭
เศรษฐกิจไทยในปี 2563 มีอัตราการเติบโตลดลงร้อยละ 6.1 เมื่อเทียบกับปี 2564 แล้วไทยมีอัตราการเติบโตเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นร้อยละ 3 และหลังจากประเทศไทยเราได้ฝ่าฟันสู้กับโรคระบาดมาได้ 3 ปี เศรษฐกิจไทยในช่วงปลายปี 2564 ที่ผ่านมา ยังคงไม่ได้ฟื้นตัวกลับสู่สภาวะเดิมก่อนการแพร่ระบาด แต่กลับเริ่มเห็นสัญญาณการเพิ่มขึ้นของเงินเฟ้อ ซึ่งเห็นได้จากการเพิ่มขึ้นของสินค้าหลาย ๆ อย่างในประเทศไทย
จะเห็นได้ว่า #ภาวะเงินเฟ้อ เกิดขึ้นในหลายประเทศทั่วโลก ซึ่งราคาสินค้าและบริการที่แพงขึ้นจะกระทบต่อการใช้ชีวิตของประชาชน ดังที่เห็นในราคาหมูที่แพงขึ้น นอกจากจะเกิดจากปัจจัยของการผลิตแล้ว ระบบเศรษฐกิจที่ก็มีส่วนสัมพันธ์กันอย่างมีนัยยะสำคัญ