‘สังคมสูงวัย’ อีกหนึ่งระเบิดเวลาของไทย
.
แม้ตอนนี้สถานการณ์โรคระบาดดูจะเป็นปัญหาหลักและไม่รู้จะอยู่กับเรานานแค่ไหน ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่ามีอีกหนึ่งปัญหาที่กำลังคืบคลานเข้ามาอย่างรวดเร็วก็คือ ‘สังคมสูงวัย’
.
ที่เรื่องนี้เป็นปัญหาใหญ่ เพราะการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรครั้งใหญ่นี้พ่วงปัญหาอื่นตามมาด้วย ไม่ว่าจะเป็น
– ปัญหาการขาดแคลนแรงงานในตลาด
– งบประมาณภาครัฐที่ต้องนำมาใช้กับผู้สูงวัยมากขึ้น
– ปัญหาระดับครัวเรือน หลักๆ คือเรื่องค่าใช้จ่าย ตลอดจนปัญหาสภาพจิตใจของทั้งผู้ดูแลและผู้สูงวัย
– รายได้ภาษีของภาครัฐที่ลดลงเนื่องจากวัยทำงานลดลง จนต้องเรียกเก็บภาษีเพิ่ม
.
จากรายงาน World Population Prospects: the 2019 Revision ของสหประชาชาติ ระบุว่า
– ในปี 2018 ที่ผ่านมา เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์โลก ที่ประชากรสูงวัยมีจำนวนมากกว่าเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี
.
และในปี 2050
– ประชากรอายุมากกว่า 80 ปี จะเพิ่มขึ้น 3 เท่าตัว (จาก 143 ล้านคนในปี 2019 สู่ 426 ล้านคน)
– ประชากร 1 ใน 6 ของโลกจะมีอายุมากกว่า 65 ปี หรือคิดเป็นสัดส่วนถึง 16% ในขณะที่ปี 2019 ที่ผ่านมาประชากร 1 ใน 11 ของโลกมีอายุมากกว่า 65 ปี หรือคิดเป็นสัดส่วน 9%
.
หลายๆ ประเทศทั่วโลก จึงต้องเผชิญกับปัญหานี้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
และในปี 2021 นี้ ไทยเองก็เข้าสู่ ‘สังคมสูงวัยสมบูรณ์’ หรือมีสัดส่วนผู้สูงวัยราว ๆ 28% ต่อประขากรทั้งหมดแล้ว
.
แล้ว 10 ปีข้างหน้า จังหวัดไหนบ้างที่จะเข้าสู่ ‘สังคมสูงวัยแบบสุดยอด’ แบบเต็มๆ
#Agenda สรุปมาให้แล้ว เพื่อให้ทุกคนได้เตรียมพร้อมรับมือ ‘สูงวัย’ ในอนาคต
.
โดยจังหวัดที่มีสัดส่วนประชากรต่อสัดส่วนผู้สูงวัยมากที่สุด Top 5 ได้แก่
.
1. แพร่ 45.1%
2. สมุทรสงคราม 41.7%
3. อุตรดิตถ์ 40.9%
4. อุทัยธานี 40.6%
5. พิจิตร 40.5%
.
————-
.
3 ลำดับของสังคมสูงวัย
.
‘สูงวัยระดับสุดยอด’
สัดส่วนผู้สูงวัยมากกว่า 30% ขึ้นไป
มี 27 จังหวัด
ได้แก่ แพร่, สมุทรสงคราม, อุตรดิตถ์, อุทัยธานี, พิจิตร, พะเยา, สิงห์บุรี, ลำปาง, ชัยนาท, นครสวรรค์, สุรินทร์, อ่างทอง, ยโสธร, ศรีสะเกษ, ลำพูน, สุโขทัย, ชัยภูมิ, นครนายก, สุพรรณบุรี, ร้อยเอ็ด, บุรีรัมย์, น่าน, เพชรบูรณ์, มหาสารคาม, พัทลุง, พิษณุโลก, กาฬสินธุ์
.
‘สูงวัยสมบูรณ์’
สัดส่วนผู้สูงวัย 20-30%
มี 37 จังหวัด
ได้แก่ นครศรีธรรมราช, เชียงราย, ราชบุรี, เลย, นครราชสีมา, กำแพงเพชร, นครพนม, ลพบุรี, ขอนแก่น, เพชรบุรี, อำนาจเจริญ, นครปฐม, หนองบัวลำภู, เชียงใหม่, อุบลราชธานี, ชุมพร, หนองคาย, พังงา, นนทบุรี, บึงกาฬ, อุดรธานี, สกลนคร, ฉะเชิงเทรา, ปราจีนบุรี, ตราด, ตรัง, สระแก้ว, กาญจนบุรี, พระนครศรีอยุธยา, กรุงเทพมหานคร, สระบุรี, ประจวบคีรีขันธ์, สุราษฎร์ธานี, สงขลา, สมุทรปราการ, ตาก, ปัตตานี
.
‘เริ่มจะสูงวัย’
สัดส่วนผู้สูงวัย 10-19%
มี 12 จังหวัด
ได้แก่ ปทุมธานี, มุกดาหาร, สมุทรสาคร, สตูล, นราธิวาส, แม่ฮ่องสอน, ยะลา, กระบี่, ระยอง, ระนอง, ชลบุรี, ภูเก็ต
.
‘ยังไม่สูงวัย’
สัดส่วนผู้สูงวัยน้อยกว่า 10%
มีเพียงจังหวัดเดียว คือ จันทบุรี
.
ที่มา : กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์, สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ