4 ประเทศที่เจอภาวะสมองไหล ต้องเจออะไรตามมาบ้าง

Highlight

ถ้าคนกว่า 8 แสนคน อพยพย้ายประเทศ จะเกิดอะไรขึ้น?

ในปี 2563 คนไทยที่ทำงานในต่างประเทศมีทั้งหมด 121,922 คน เพิ่มขึ้นถึง 28,997 คนจากปีก่อน

หรือเรากำลังเจอกับภาวะ ‘สมองไหล’ แบบที่หลายประเทศกำลังเจออยู่?

ภาวะ ’สมองไหล’ (Brain Drain) เป็นคำเปรียบเปรยถึงสภาวะที่แรงงานทักษะสูง หรือคนเก่งในประเทศ อพยพไปทำงานอยู่ต่างประเทศจำนวนมากพอจนส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจ และการสร้างองค์ความรู้เป็นของตนเอง โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่ต้องพึ่งพาแรงงานทักษะสูง อย่างการแพทย์ เทคโนโลยี วิศวกรรม เป็นต้น

สาเหตุที่คนเหล่านั้นอพยพออกไป มีหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นตำแหน่งงานในประเทศไม่มากพอจะรองรับ ค่าตอบแทนน้อย ปัจจัยทางการเมือง เป็นต้น

ไม่กี่วันที่ผ่านมา คนไทยตั้งกลุ่มที่ให้ความรู้เกี่ยวกับการย้ายประเทศบนเฟซบุ๊ค ทำให้ภาวะสมองไหลถูกนำมาพูดถึงเป็นประเด็นอีกครั้ง ว่าจะเกิดเรื่องนี้ขึ้นกับเราหรือไม่ และจะส่งผลกระทบมากแค่ไหน

มาดูกันว่า 4 ประเทศที่เจอภาวะสมองไหล ต้องเจอกับผลกระทบอะไรตามมาบ้าง

————

🎓 ไนจีเรีย

ไนจีเรียประสบปัญหาจำนวนประชากรที่ล้นเกิน เกิดจากรัฐขาดนโยบายการคุมกำเนิดประชากร ทำให้ในปี 2020 ไนจีเรียมีประชากรถึง 220 ล้านคน!

เมื่อประชากรโต แต่เศรษฐกิจไม่โตตาม ทำให้ค่าแรงในประเทศน้อยลงไปด้วย

เรื่องนี้ทำให้ไนจีเรีย ต้องเผชิญปัญหาที่ทับถมตามมา คือขาดแคลนสาธารณูปโภค ความไม่ปลอดภัยในการใช้ชีวิตประจำวัน ระบบสาธารณสุขไม่เพียงพอ เพราะเกิน 50% ของแพทย์ที่เรียนจบในแต่ละปี ออกไปทำงานต่างประเทศ ทำให้แพทย์ที่หลงเหลืออยู่ 1 คนต้องดูแลชาวไนจีเรียเกือบ 5,000 คน

————

🎓 จีน

ระหว่างปี 1978 ถึง 2007 คนจีนมากกว่า 1.21 ล้านคน ไปเรียนต่อ วิจัย และทำงานในต่างประเทศ และมีเพียง 25% ที่เดินทางกลับประเทศ 

แม้เรื่องนี้จะช่วยลดความกดดันจากการแข่งขันในตลาดแรงงานของจีน

แต่ความจริงแล้ว การสมองไหลนี้ นับเป็นการสูญเสียครั้งใหญ่ของประเทศจีน เพราะรัฐได้ลงทุนอย่างมากในการพัฒนาทักษะ-ความรู้ และทำให้จีนขาดแคลนบุคลากรที่จะส่งเสริมให้ประเทศก้าวหน้าเป็นสังคมเทคโนโลยีอย่างที่รัฐตั้งเป้าหมายไว้

ที่คนกลุ่มนี้ไม่กลับมาประเทศ เพราะเกิดความความเบื่อหน่ายทางการเมือง (Political Alienation) ที่มักมีการจัดการโดยการใช้อำนาจที่ไม่ถูกต้อง ประกอบกับได้รับค่าตอบแทนและคุณภาพชีวิตที่ต่ำอยู่ต่างประเทศ ในเวลานั้น จีนยังมีความขาดแคลนสิ่งอำนวยความสะดวกต่อการวิจัยด้วย

เพื่อรับมือวิกฤตินี้ รัฐต้องผลักดันนโยบาย เพื่อดึงให้คนเก่งเดินทางกลับมาทำงานในประเทศ เช่น ยอมให้ถือ 2 สัญชาติได้ เพื่อดึงให้คนกลับมา 

จีนยังเพ่งเล็งการดึงดูดนักวิชาการชาวญี่ปุ่นที่มีความสามารถจำนวนมาก แต่ต้องดิ้นรนหางาน หรือแม้แต่หาเงินทุนมาทำวิจัยในญี่ปุ่นไม่ได้ ให้มาทำงานที่จีนแทน

————

🎓 ฟิลิปปินส์

ฟิลิปปินส์เป็นอีกประเทศที่ล้มเหลวในการคุมกำเนิดประชากร เนื่องจากความเชื่อทางศาสนา จำนวนประชากรที่ล้นมากเกิน ทำให้ประเทศขาดดุลการค้า ต้องนำเข้าอาหาร และสินค้าจำเป็นจำนวนมาก

และยังทำให้มีอัตราการว่างงานสูงมากอีกด้วย

ฟิลิปปินส์ยังเผชิญกับปัญหาการเมืองภายใน คือการคอร์รัปชันที่เป็นประเด็นใหญ่

การอพยพออกไปหางานทำ และส่งเงินกลับประเทศ จึงหลายเป็นทางออกของแรงงานในฟิลิปปินส์ และรัฐบาลก็สนับสนุนด้วย เพื่อลดการขาดดุลการค้า และลดอัตราว่างงาน

ปัจจุบันฟิลิปปินส์นับว่าส่งออกแรงงานไปต่างประเทศมากที่สุดในอาเซียน

ผู้อพยพจำนวนไม่น้อยเป็นผู้มีทักษะความรู้ความสามารถ

ทั้งในด้านวิชาชีพ เช่น แพทย์ พยาบาล หรือนักกฎหมาย 

อาชีพที่กำลังเป็นประเด็นหนักคือบุคลากรทางการแพทย์ 

บุคลากรด้านการดูแลสุขภาพอพยพไปต่างประเทศราวปีละ 22,000 คน

โดยเฉพาะ 70% ของพยาบาลที่ผลิตได้ในแต่ละปี ก็อพยพไปหางานทำต่างประเทศ 

ในปี 2019 รัฐพยายามลดปัญหานี้ด้วยการประกาศขึ้นค่าแรงขั้นต่ำของพยาบาล เพื่อลดภาวะสมองไหล เพราะแรงงานพยาบาลในประเทศ ได้ค่าจ้างต่ำกว่าต่างประเทศเท่าตัว

แน่นอนว่าในปีที่ผ่านมา เมื่อเราเจอกับวิกฤติโรคระบาด ก็ทำให้พยาบาลมีไม่พอ แม้ว่ารัฐบาลจะประกาศรับพยาบาลฉุกเฉินเพิ่ม 15,000 คน และสัญญาให้ค่าจ้างเพิ่ม 20% แต่คนมาสมัครเพียง 700 คน หรือไม่ถึง 10% จากจำนวนรับ


🎓 อิหร่าน

อิหร่านในยุคหลังการปฏิวัติ มีสถานการณ์บ้านเมืองที่ไม่สงบ มีการใช้ความรุนแรง และละเมิดสิทธิมนุษยชนของประชาชน ขาดสิทธิเสรีภาพทางศาสนา 

ทำให้กว่า 40 ปีที่ผ่านมาหลังการปฏิวัติ มีตัวเลขประมาณการว่า มีชาวอิหร่านกว่า 5 ล้านรายที่ทยอยอพยพออกนอกประเทศ

ปัจจุบันคาดการณ์ว่า อิหร่านประสบสภาวะสมองไหลอย่างใหญ่หลวง เพราะมีคนที่มีการศึกษา 150,000 คนย้ายออกนอกประเทศทุกปี และผลกระทบต่อเศรษฐกิจ และการศึกษา ขาดแคลนแรงงานทักษะสูงอย่างมาก

————

#AGENDA #ย้ายประเทศกันเถอะ #ภาวะสมองไหล

ที่มา:

https://www.researchgate.net/publication/240534512_China’s_Brain_Drain_at_the_High_End_Why_Government_Policies_Have_Failed_to_Attract_First-rate_Academics_to_Return

https://mgronline.com/china/detail/9500000018260

https://www.industryweek.com/talent/article/21953426/china-suffers-from-worst-brain-drain-in-the-world

https://www.tandfonline.com/doi/abs/10.1080/10670569208724154?journalCode=cjcc20

https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/910214

https://www.longtunman.com/28719

https://www.hfocus.org/content/2019/07/17425

https://www.youtube.com/watch?v=M1qzNWIHGxg

https://www.longtunman.com/19632

https://cs.stanford.edu/people/eroberts/cs181/projects/2010-11/BrainDrain/Malaysia.html#:~:text=Malaysia%20is%20one%20of%20the%20countries%20most%20affected%20by%20brain%20drain.&text=Among%20the%20diaspora%2C%20more%20than,countries%20other%20than%20their%20own.

https://share.america.gov/irans-40-year-brain-drain/

https://www.malaymail.com/news/what-you-think/2020/07/06/brain-drain-in-malaysia-why-malaysians-dont-want-to-come-back-home-rueben-a/1881901

https://www.facebook.com/talearm/posts/10155725116308243

https://mgronline.com/uptodate/detail/9500000048129

https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/500359

Popular Topics