PATAGONIA แบรนด์ที่ไม่พอใจแค่ “ความยั่งยืน”

Highlight

ไม่ทำวันนี้ก็สายเกินไป ยั่งยืนไม่ใช่แค่การตลาด “Patagonia” เสื้อผ้าจบปัญหาโลกร้อน

.

ใช้วัตถุดิบรีไซเคิล ใช้พลังงานหมุนเวียนแบบ 100% ออกแคมเปญห้ามซื้อ ลดการบริโภคเกินจำเป็น ยกหุ้นทั้งหมดให้โลก

.

“Patagonia” แบรนด์ที่ลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำ ทำได้อย่างไร? #Agenda สรุปมาให้แล้ว

.

– Not only Marketing ตั้งเป้า โลกต้องดีขึ้นจริง

Patagonia เน้นทำธุรกิจเพื่อสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง ผ่านการเข้าร่วมข้อตกลงปารีส (Paris Agreement) ที่มีเป้าหมายรักษาอุณหภูมิเฉลี่ยโลกให้ไม่เกิน 1.5 องศาเซลเซียส และประกาศในปี 2022 ว่าได้ยกหุ้น 98% ของบริษัท ให้กับ Holdfast Collective องค์กรไม่แสวงหากำไรที่มุ่งต่อสู้เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม โดยทุกปีจะจ่ายเงินปันผลให้องค์กรดังกล่าวในฐานะผู้ถือหุ้นเพื่อใช้สู้วิกฤตสิ่งแวดล้อมต่อไป

.

– Renew & Recycle หมุนเวียนใช้ใหม่ให้ได้มากที่สุด

โรงงานที่ใช้ผลิต สำนักงานและอาคาร รวมถึงร้านค้าอีกกว่า 208 แห่งทั่วโลกใช้พลังงานไฟฟ้าแบบหมุนเวียน 100% ร่วมกับการปลูกต้นไม้เพิ่มพื้นที่สีเขียวในอาคาร นอกจากนี้ ในการผลิตสินค้า Patagonia เป็นแบรนด์แรกๆ ของโลก ที่เลือกใช้เส้นใยที่รีไซเคิลจากเศษขยะ เปลือกหอย ไนลอน ขนสัตว์ หรือแม้แต่อวนจับปลา คิดเป็น 88% ของวัสดุรีไซเคิลทั้งหมดที่ใช้ในการผลิตสินค้าเลยทีเดียว

.

– Green Certified ความเขียวต้องตรวจสอบได้ 

ด้วยการเข้าร่วมระบบ bluesign® ซึ่งเป็นมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม สุขอนามัย และความปลอดภัย เพื่อเชื่อมโยงเครือข่ายผู้ผลิตวัตถุดิบ ผู้ผลิตสิ่งทอ บริษัทค้าปลีก และแบรนด์เสื้อผ้า โดยเฉพาะวัตถุดิบประเภทขนเป็ดและขนห่าน ที่สามารถตรวจสอบประวัติย้อนกลับได้ตั้งแต่ฟาร์มแม่พันธุ์ไปจนถึงโรงงานแปรรูปเส้นใย เพื่อให้แน่ใจว่านกที่ให้ขนนั้นได้รับการคุ้มครองตามมาตรฐานเหล่านี้ และไม่ถูกบังคับให้กินอาหารเกินขนาดหรือถอนขนในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่

.

– Don’t Buy This Jacket ไม่สนับสนุนให้ซื้อใหม่

ในขณะที่แบรนด์ส่วนใหญ่พากันโปรโมทสินค้า ออกแคมเปญ โปรโมชั่นลดกระหน่ำ แต่ Patagonia กลับเป็นแบรนด์ที่กล้าบอกผู้ซื้อว่า “Don’t Buy This Jacket” ที่ต้องการเตือนผู้บริโภคว่าให้คิดก่อนซื้อ เพื่อลดการซื้อสินค้าใหม่โดยไม่จำเป็น 

.

ทำให้ยอดขายจากแคมเปญดังกล่าวเพิ่มขึ้นถึง 20-30% โดย Patagonia ยังได้บริจาคกำไรส่วนหนึ่งจากแคมเปญดังกล่าวที่ขายในวัน Black Friday ที่คิดเป็นเงินราวๆ 330 ล้านบาทให้แก่องค์กรสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

.

รวมถึงการเปิดตัว “Worn Wear” แพลตฟอร์มให้บริการซ่อมเสื้อผ้าของ Patagonia ที่ชำรุด พร้อมคู่มือการซ่อมแซมเสื้อผ้าด้วยตนเอง โดยมีบริการรถเคลื่อนที่สำหรับรับเสื้อผ้าไปซ่อมแซมให้โดยเฉพาะ หรือสามารถนำมาขายต่อในราคามือสอง รวมถึงแลกเป็นเครดิตสำหรับซื้อสินค้าใหมในราคาพิเศษได้ ซึ่งช่วยลดขยะจากเสื้อผ้าเก่าและยืดอายุการใช้งานของผ้าออกไปได้อีกหลายปี

.

– Earth is in Our Hands ผลักดันให้ทุกคนมีส่วนร่วม

อีกหนึ่งแนวทางที่ Patagonia ใช้ขับเคลื่อนสิ่งแวดล้อมให้ก้าวไปข้างหน้า คือการทำ Patagonia Action Work โดยเปิดแพลต์ฟอร์มประชาสัมพันธ์โครงการหรือแคมเปญด้านสิ่งแวดล้อม ที่เชิญชวนอาสาสมัครในท้องถิ่นต่างๆ ให้มาร่วมทำกิจกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมร่วมกัน 

.

นอกจากนี้ Patagonia ยังเป็นผู้ริเริ่มโครงการ 1% for the Planet ที่จะแบ่งกำไร 1% จากรายได้บริษัทในแต่ละปีให้กับองค์กรสิ่งแวดล้อมต่างๆ และมีส่วนช่วยในการสนับสนุนซัพพลายเออร์หรือกว่า 150 ราย เพื่อดำเนินการผลิตฝ้ายออร์แกนิก 100% 

.

ทั้งหมดนี้ จึงทำให้ Patagonia กลายเป็นแบรนด์รักษ์โลก ที่อุทิศตนเพื่อสิ่งแวดล้อม ด้วยแนวคิดที่ว่า Earth is Now Our Only Shareholder. (โลก คือ หุ้นส่วนเดียวของเรา) อย่างแท้จริง!

.

Sources : Patagonia, One Percent for the Planet, Worn Wear, Forbes, CNBC, Circular X

Popular Topics