ทำไม Telegram ถึงเป็นแอป ที่ ‘ผู้ชุมนุม’ ทั่วโลกนิยมใช้ ?

สถานการณ์การชุมนุมในประเทศไทย ทำให้เมื่อไม่กี่วันก่อน จู่ๆ ก็เกิดปรากฎการณ์ดาวน์โหลดแอป Telegram จนติดอันดับแอปแรกๆ ที่คนดาวน์โหลดมากที่สุด

0
291

โดยมีสาเหตุมาจากแฟนเพจ ‘เยาวชนปลดแอก-Free YOUTH’ ได้โพสต์ข้อความว่า
“ด่วน! เราได้รับข่าวมาว่า DE อาจกำลังขอให้ FB ปิดเพจเยาวชนปลดแอก- FreeYOUTH” และแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม จึงขอให้ทุกคนโปรดเข้าร่วม Telegram นี้”
(ข้อมูล ณ วันที่ 19 ตุลาคม 2020 ระบุว่ามีสมาชิกเต็มจำนวน 200,000 คนแล้ว)

ต่อมา กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ก็ประกาศขอให้กสทช. ระงับแอปฯ “เทเลแกรม” (Telegram)
เนื่องจากเป็นการฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน

เลยทำให้คนมาสนใจแอปนี้กันมากขึ้น

- Advertisement -

แต่ก็ไม่ใช่แค่ในประเทศไทย ที่มีการนำแอปนี้มาใช้ในการชุมนุมประท้วง
ผู้ชุมนุมประท้วงในเบลารุส ฮ่องกง รัสเซีย ก็เลือกใช้แอปนี้ในการสื่อสารเช่นกัน

แล้วทำไมต้อง Telegram ด้วยล่ะ?

AGENDA หาคำตอบมาให้แล้ว


 

Telegram’ ความปลอดภัยที่เกิดจากแรงแค้น

แอปนี้ก่อตั้งขึ้นในปี 2003 จากแรงแค้นของ Pavel Durov ที่มีต่อรัฐบาลรัสเซีย
เนื่องจากเขาเคยทำแอปโซเชียลมีเดียชื่อ VKontakte ซึ่งถูกใช้สื่อสารตอนชุมนุมประท้วง และจนถูก Mail.ru บริษัทที่ใกล้ชิดกับรัฐบาลแทรกแซงและเทคโอเวอร์ไป

เขาจึงตั้งเป้าว่าจะสร้างแอปสื่อสารที่ปลอดภัยที่สุดในโลกให้ได้ ด้วยการย้ายถิ่นฐานมายังเยอรมัน และพัฒนา Telegram ขึ้นมา

ซึ่งในปัจจุบัน Telegram มีผู้ใช้งานสูงถึง 400 ล้านคน และตั้งเป้าว่าจะมีผู้ใช้งาน 1,000 ล้านคน ภายในปี 2022

ภาพเป็ดเหลืองส่งจดหมาย อันเป็นภาพที่ Telegram ใช้อธิบายคอนเซ็ปต์ Telegram is so simple you already know how to use it.

2 มหาอำนาจใหญ่ ก็บล็อคไม่ได้

ในเมื่อ Telegram มีจุดยืนเรื่องความปลอดภัยควบคู่กับเสรีภาพทางความคิด
ทำให้ Telegram ปฏิเสธคำขอจากรัฐบาลต่างๆ ในการให้ข้อมูลผู้ใช้งาน
และถูกประกาศแบนในรัสเซีย จีน ฮ่องกง (ล่าสุดรัฐบาลไทยด้วย) แต่ยังไม่มีรัฐบาลใดทำได้สำเร็จ จนในที่สุดรัสเซียก็ได้ถอนคำสั่งแบนแอปนี้ออกไปแล้วเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา หลังพยายามปิดมากว่า 2 ปี

 ‘Telegram’ ปลอดภัยยังไง?

– ใช้ระบบเข้ารหัสหลายระดับ และแบบ End-to-end encryption ทำให้ไม่สามารถดักอ่านข้อความได้
– เก็บข้อมูลบนคลาวด์
– ซ่อนแอดมินกลุ่มเป็นแบบไม่ระบุตัวตน
– ฟีเจอร์ secret chat ป้องกันคนอ่าน และทำลายข้อความเองได้ตามเวลาที่เราตั้งไว้
– ระบบเปลี่ยน IP Address
– ถ้าไม่ออนไลน์นานๆ จะลบบัญชีเราอัตโนมัติ
นอกจากนี้ยังสร้างกลุ่มที่มีสมาชิกได้มากถึง 200,000 คน

Telegram ไม่มี ‘จุดอ่อน’ จริงหรอ?

จริงๆ แล้ว Telegram มีฟังชันการเสิร์ชหาผู้ใช้งานได้ด้วยเบอร์โทรศัพท์
โดยทาง Telegram อธิบายว่า คนอื่นในห้องสนทนาจะไม่สามารถเห็นเบอร์ของเราได้ ยกเว้นจะรู้จักกันมาก่อน ก็คือมีเบอร์ใน Contact นั่นเอง
ซึ่งผู้ใช้งานสามารถเลือกปิดฟังก์ชันนี้ได้ โดยเข้าไปที่ Settings > Privacy and Security > Phone Number

บทความก่อนหน้านี้รำลึก 47 ปี 14 ตุลา 2516 ทำไม ’14 ตุลาฯ’ ถึงเป็นชัยชนะของประชาธิปไตย?
บทความถัดไปใน 1 วัน เราใช้แอป ‘จีน’ อะไรบ้าง