ลาออกครั้งใหญ่ VS ไล่ออกครั้งใหญ่ ทำไมเกิดขึ้นพร้อมกัน?

Highlight

ลาออก 47 ล้านคน
ไล่ออกกว่าแสนตำแหน่ง

ตอนนี้ตลาดแรงงานทั่วโลกกำลังเกิด 2 สภาวะขั้วตรงข้ามพร้อมๆ กัน คือ ลาออกครั้งใหญ่ (The Great Resignation) และไล่ออกครั้งใหญ่ (The Great Layoff) 

แล้วรู้ไหมว่า แม้สองเรื่องนี้จะเป็นคนละขั้ว แต่ต้นตอกลับมาจากเรื่องเดียวกัน

เรื่องราวเป็นยังไง #AGENDA สรุปมาให้แล้ว

📍 เกิดอะไรขึ้น?

ในปี 2021 จำนวนคนลาออก เพิ่มมากถึง 47 ล้านคน สูงสุดในประวัติการณ์สหรัฐฯ

และการลาออกยังเกิดอย่างต่อเนื่อง

ในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ในสหรัฐฯ มีคนลาออกแล้วกว่า 4.5 ล้านคน

ส่วนในไทยเอง จากการเก็บสถิติไตรมาสแรกของปีนี้โดยสำนักสถิติแห่งชาติก็พบว่า คนหยุดทำงานด้วยเหตุผล ‘ลาออก’ มากเป็นอันดับ 2

ในช่วงเวลาที่ไล่เลี่ยกัน

บริษัทเทคโนโลยีประมาณ 861 รายทั่วโลก เริ่มประกาศเลิกจ้างทีละแห่งสองแห่ง ตามกันไปแบบโดมิโน รวมแล้วมีคนถูกปลดกว่า1.4 แสนคนในปีเดียว

เฉพาะในเดือนพฤษภาคม 2022 ที่ผ่านมา มีพนักงานถูกเลิกจ้างกว่า 16,000 คนจาก 60 บริษัทในสหรัฐฯ ส่วนยุโรป เอเชีย และอินเดีย ก็มีตัวเลขเลิกจ้างมากกว่าปกติเช่นกัน

ส่วนในไทย ก็อย่างที่เราเห็นข่าวอีคอมเมิร์ซรายหนึ่ง ปลดพนักงานทีเดียวครึ่งแผนก

ในขณะที่หลาย ๆ บริษัท ก็ชะลอตัวการรับพนักงานใหม่

📍 การ Layoff แบบโดมิโน

– Booking.com ปลดแล้ว 4,375 ตำแหน่ง

– Bytedance ปลดแล้ว 3,750 ตำแหน่ง

– Alibaba ลดจำนวนพนักงานลง 15%

– Airbnb เลิกจ้างกว่า 1,500 ตำแหน่ง

– Meta ชะลอการจ้างงาน

– Netflix ปลดพนักงานกว่า 475 ตำแหน่ง หลังยอดสมาชิกลดลงต่อเนื่อง

– Shoppee ในไทยเลิกจ้างกะทันหัน 50% ของทีม

– Tesla จะลดพนักงานลง 14% (Elon Musk ยังประกาศเรียกพนักงานที่ Work From Home กลับเข้าออฟฟิศ และถ้าไม่มาถือว่า ‘ลาออก’ หลายคนตั้งคำถามว่านี่เป็นกลยุทธ์บีบให้ออกและเป็นหนึ่งใน The Great Layoff หรือไม่?)

📌 ลาออกครั้งใหญ่ และไล่ออกครั้งใหญ่ ผลกระทบขั้วตรงข้ามที่เกิดจากสาเหตุเดียวกัน

ตั้งแต่ช่วงปีที่ผ่านมา เป็นเวลาที่ทั่วโลกเผชิญวิกฤตโควิดมากว่า 2 ปี

ด้วยมาตรการป้องกันโรคที่ทำให้บริษัทส่วนใหญ่ปรับการทำงานเป็นแบบ Work from Anywhere

การที่วัยทำงานต้องอยู่บ้านตลอดเวลานี้เอง ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ทั้งในอุตสาหกรรมเทคโนโลยี อีคอมเมิร์ซ​ รวมถึงสภาวะความคิดและจิตใจของคนทำงาน โดยเฉพาะกลุ่มใหญ่อย่าง GEN Y และ GEN Z

📱 แพลตฟอร์มออนไลน์และเทคโนโลยีได้โอกาสโต

เมื่อคนทำงานอยู่แต่บ้าน – ยอดขายในแพลตฟอร์ม E-Commerce ต่าง ๆ ก็เติบโตอย่างรวดเร็ว เทศกาล 11.11 ในช่วงโควิดทำยอดขายสูงสุดเป็นประวัติการณ์

ส่วนแพลตฟอร์ม Tiktok ที่ใช้ฆ่าเวลา ฆ่าความเบื่อจากการอยู่บ้านก็เติบโตพลุแตก รวมไปถึงเทคโนโลยีต่างๆ เพราะคนอยู่บ้านมองหา Gadget ที่ตอบโจทย์ Smart Living มากขึ้น

💻 Work Anywhere ตอบโจทย์ความยืดหยุ่นในชีวิต

ผลจากการที่คนทำงานชอปออนไลน์ เติมไอเท็มที่ทำให้อยู่บ้าน ‘สบายขึ้น’ จนทำให้ชีวิตภายในบ้านลงตัวกว่าเดิม จากเดิมที่ต้องออกเดินทางไปทำงานทุกวัน ไม่มีเวลาใส่ใจรายละเอียดเล็กน้อยในบ้าน 

ส่วนสายเดินทาง ก็ได้ลองออกไป Workation นาน ๆ นั่งทำงานริมทะเล หรือย้ายกลับไปนั่งทำงานยังภูมิลำเนากับครอบครัว

การกลับไปใช้ชีวิตแบบเดิม ที่ต้องเดินทางไป-กลับที่ทำงาน จึงไม่ใช่สิ่งที่น่าดึงดูดเลยสำหรับพวกเขา

📍คนเริ่มตั้งคำถามถึง ‘งานที่ทำอยู่’ และ ‘งานที่อยากทำ’

การได้อยู่บ้าน ทำให้คนทำงานได้คำตอบ ‘ชัดเจน’ ขึ้นกับงานที่ทำ

แม้ว่าก่อนหน้านี้อาจจะรู้สึกอิ่มตัวกับงาน อยากออกไปหางานที่ตอบโจทย์มากกว่านี้อยู่แล้ว แต่ก็ไม่ได้มีเวลาหยุดคิดเท่ากับช่วงที่ได้พักอยู่บ้าน

📍เสี่ยงซ้ำรอย dot-com bubble?

ในอีกแง่มุมหนึ่ง การเติบโตของอุตสาหกรรมเทคโนโลยีและเหล่าสตาร์ทอัพต่างๆ ในช่วงแรกของโควิด 

ชวนให้หลายคนนึกถึงการบูมของเทคโนโลยีจนใครหยิบจับทำอะไรก็ราคาหุ้นพุ่งสูงจนสุดท้ายฟองสบู่แตกอย่าง dot-com bubble จนหลายสำนักออกมาเตือนให้ธุรกิจสตาร์ทอัพที่เน้นเผาเงินเป็นว่าเล่น ให้รัดเข็มขัดกันบ้าง

และในตอนนี้ ธุรกิจกลุ่มนี้ก็มาถึงจุดเริ่มซบเซา เมื่อยอดขายอีคอมเมิร์ซต่าง ๆ ไม่บูมเท่าตอนแรก ภาวะเศรษฐกิจและสงครามยิ่งทำให้กำลังซื้อกระทบกระเทือน ส่วนทรัพยากรที่บริษัทฯหามาเพิ่มเพื่อรองรับการเติบโต เริ่มเป็นค่าใช้จ่ายก้อนใหญ่ที่ต้องหาทางลด

เรียกได้ว่า ทั้งการลาออกครั้งใหญ่ และไล่ออกครั้งใหญ่ ล้วนเป็นผลกระทบมาจากโควิด-19 ส่วนหนึ่งทั้งสิ้น

📍ผลกระทบและการปรับตัว

อย่างไรก็ตาม หลายที่วิเคราะห์ว่า ต่อให้บริษัทเทคโนโลยี Layoff จำนวนมาก แต่สายงานที่อยู่ในอุตสาหกรรมเทคโนโลยียังเข้มแข็ง แต่เป็นสายงานอื่นในกลุ่มบริษัทเหล่านี้มีความเสี่ยงมากกว่า

ในขณะที่ฝั่งนายจ้างหลายบริษัทก็ต้องปรับตัวเช่นกัน อย่างสตาบัคส์ที่ประกาศขึ้นราคา และค่าแรง ส่วนอิเกียก็ประกาศขึ้นค่าแรง เพื่อลดปัญหาคนขาดแคลนในช่วงที่เศรษฐกิจกลับมาคึกคัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่ม Talents

ดังนั้นการลาออกครั้งใหญ่จะทำให้นายจ้างต้องทบทวนค่าตอบแทน คิดถึง well being ในการทำงานของพนักงานและตอบคำถามเกี่ยว ‘คุณค่า’ ของการทำงานที่นี่ เพื่อดึงคนเก่งแบบที่ต้องการให้ได้

Popular Topics