ถ้าเราคิดว่าโควิดทำให้เราสะดุดชั่วคราว เดี๋ยวชีวิตก็กลับไปเหมือนเดิม เราอาจจะต้องคิดใหม่ เพราะโลกจะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป
เพราะโควิดมาแล้ว จะไม่ไป จะอยู่กับเราต่อไป แต่ที่สำคัญยิ่งกว่าคือ
ไม่ใช่มีแค่โควิดหรอกที่จะทำให้เราสะดุด อาจมีโรคอุบัติใหม่เกิดขึ้นอีกมากมาย
ยังไม่รวมภัยธรรมชาติ การก่อการร้าย การประท้วง จลาจล ฯลฯ
ซึ่งล้วนแล้วแต่อาจทำให้เราไม่สามารถใช้วิถีที่ทำงานในแบบดั้งเดิมได้ทั้งสิ้น
แล้วที่ทำงานยุคใหม่ต้องตอบโจทย์อะไรบ้าง ด้วยวิธีการใดล่ะ
โจทย์ที่เป็นเป้าหมาย 6 ด้านของที่ทำงานแห่งอนาคต ก็คือ (PCS)x2
P: Productivity – เป้าหมายสูงสุดของที่ทำงานคือต้องสร้างผลิตภาพสูงสุดให้กับองค์กร และนี่เป็นเหตุผลหลักที่จำเป็นต้องใช้ในการอธิบายกับผู้ถือหุ้น และนักลงทุนสำหรับการปรับเปลี่ยนที่ทำงาน
P: Privilege or Perks – ศักดิ์ และสิทธิพิเศษที่ทำให้คนทำงานยืดอกด้วยความภาคภูมิใจ เจอหน้าใครก็พูดได้เต็มปากเต็มคำว่าทำงานที่ไหน
C: Culture – วัฒนธรรมองค์กร ซึ่งเป็นสิ่งที่ดึงดูดคนทำงานมากกว่าค่าตอบแทนและประโยชน์รูปแบบอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนในเจนเนอเรชั่นใหม่ๆที่แทบไม่อยากไปเป็นลูกจ้างของใคร
C: Connectivity – ระบบที่เอื้อให้คนทำงานสามารถเข้าถึงข้อมูล และทรัพยากรที่ต้องใช้ในการทำงานได้โดยง่าย ที่สำคัญคือต้องมีแพลตฟอร์มให้คนทำงานสามารถเชื่อมโยง และร่วมมือกันทำงานไม่ใช่แค่ข้ามฝ่าย ข้ามแผนก แต่ต้องข้ามพื้นที่ ข้ามเมือง ข้ามประเทศได้
S: Security – ความปลอดภัยของข้อมูล ทรัพย์สิน และคนทำงานซึ่งจะทวีความจำเป็นมากขึ้นเรื่อย ๆ ในโลกยุคดิจิตอล และระบบการทำงานสมัยใหม่ที่คนทำงานกระจายกันอยู่ในหลายพื้นที่
S: Surprise – ความเปลี่ยนแปลงหรือสิ่งแปลกใหม่ที่สามารถสร้างความประหลาดใจในทางที่ดีให้กับคนทำงานอยู่เป้นระยะ ๆ เพราะ “ความจำเจ” คือ ปัจจัยใหญ่ที่กัดกร่อนความคิดสร้างสรรค์ และบั่นทอนพลังในการทำงาน
ในตอนต่อไป พบกับ
– การเปลี่ยนแปลงของที่ทำงานที่เราเรียกกันคุ้นเคยว่า Office หรือ Workplace จะกลายเป็น Workspace
และ ‘P-I-P-O-P’ 5 สิ่งที่องค์กรต้องปรับเปลี่ยน สำหรับโลกทำงานยุคหลังโควิด ที่จะช่วยตอบโจทย์ทั้ง 6 นี้ในตอนต่อไปครับ