ถ้าพูดถึงการเกษตรในประเทศไทย
เรามีที่ดินทำการเกษตรครอบคลุมกว่าร้อยละ 40 ของพื้นที่
มีการจ้างงานสูงถึงกว่าร้อยละ 30 ของกําลังแรงงานทั้งประเทศ
ขยายครอบคลุมถึง 6.4 ล้านครัวเรือน
แต่ภาคเกษตรกลับมีสัดส่วนใน GDP เพียงร้อยละ 10
เพราะการเกษตรแบบเดิม ๆ ให้ผลผลิตต่ำแต่มีความเสี่ยงสูง
แน่นอนว่าปัญหาเหล่านี้ก็มีในหลายประเทศ
ทำให้มีการนำเอา ‘เทคโนโลยีการเกษตร (Agritech)’ มาให้ปัญหา เพิ่มผลผลิต สร้างมูลค่าให้กับผลิตผลมากขึ้น
#AGENDA ชวนส่องเทคโนโลยีเกษตรแต่ละประเทศ
ไปกับ ‘คุณแบงค์ อริญชย์ พฤกษานุศักดิ์’ Head of Agritech แห่ง truedigital
—————
นอร์เวย์ – สแกนปลา ยิงทันทีถ้ามีหมัด
การเลี้ยงปลาแซลมอนในทะเลธรรมชาติที่นอร์เวย์ ผู้เลี้ยงมักจะเจอปัญหา ‘หมัดทะเล’ ที่เกาะบนปลา และทำให้ปลาต้องถูกแยกออกมาเพื่อไปแช่ในยาและดึงเอาหมัดออก ซึ่งการใช้ยากับปลา มักจะทำให้มันเครียด และส่งผลกับสุขภาพและราคาปลาด้วย
Esben Beck จึงคิดค้นระบบที่เรียกว่า ‘Stingray’ ขึ้นมาแก้ปัญหานี้
‘Stingray’ คือเทคโนโลยีที่เอา AI และเลเซอร์เข้ามาใช้ร่วมกัน
โดยระบบ Face Recognition หรือระบบจดจำใบหน้าปลา จะคอยบันทึกน้ำหนักปลาที่ว่ายผ่านไว้ พร้อมสแกนบนตัวปลา ถ้าพบหมัดทะเลจะยิงหมัดบนตัวปลาด้วยเลเซอร์ทันที โดยไม่เป็นอันตรายต่อปลาเลย
เทคโนโลยีนี้ได้รับรางวัลจาก European Patent Office ด้วย
—————
สิงคโปร์ – ฟาร์มดาดฟ้า
แม้สิงคโปร์จะก้าวหน้าหลายด้าน
แต่ในแง่ของอาหารซึ่งเป็นปัจจัย 4 สิงคโปร์ผลิตเองได้น้อยมาก
ในแต่ละปี สิงคโปร์ต้องพึ่งพาอาหารจากต่างประเทศสูงถึง 90%
สิงคโปร์เลยต้องทุ่มเทเทคโนโลยีเข้าช่วยในการเพิ่มผลผลิต โดยให้เงินทุนสำหรับการค้นคว้าและวิจัยแก่สตาร์ทอัพในสิงคโปร์
เช่น
– Comcrop ฟาร์มผักบนดาดฟ้า ที่ใช้ระบบ Aquaponics หรือการหมุนเวียนน้ำระหว่างพืชและปลา สามารถสร้างผลผลิตได้ถึง 500 กิโลกรัมต่อเดือน
– Sky Greens Singapore ปลูกผักแนวตั้ง โดยใช้ไฮดรอลิคช่วยในการดูแลและเก็บเกี่ยวผลผลิต
– เปิดสวนสาธารณะให้ชาวเมืองเช่าเพื่อปลูกผักกินเอง
—————
ฝรั่งเศส – ลูกไก่เพศผู้ถูกกำจัดปีละหลายล้านตัว เพราะไม่คุ้มเลี้ยง
ในอุตสาหกรรมการเลี้ยงไก่ไข่ ลูกไก่เพศผู้จะไม่สามารถต่อยอดสร้างมูลค่าได้เท่ากับไก่ตัวเมีย
ดังนั้นเมื่อลูกไก่ฟักออกมาและรู้เพศ ลูกไก่เพศผู้จะถูกคัดแยกออกมาเพื่อกำจัดด้วยวิธีการที่ค่อนข้างโหดร้าย เช่น รมแก๊สพิษ ฝัง ในแต่ละปี จะมีลูกไก่เพศผู้ถูกกำจัดหลายล้านตัว ทำให้เกิดการตั้งคำถามในแง่ศีลธรรม และในทางกฎหมายก็มีการออกข้อห้ามเรื่องนี้แล้วในบางประเทศ เช่น ฝรั่งเศส เยอรมัน
คิดค้นเพื่อที่ธุรกิจจะได้คัดแยกไข่เพศผู้ออกก่อนที่จะเป็นตัวอ่อนมีความรู้สึก และยังสามารถนำไข่ไปขายต่อได้
นอกจากนี้ยังมี EggXYT สตาร์ทอัพจากอิสราเอลที่ต้องการแก้ไขประเด็นปัญหานี้ ได้คิดค้นเทคโนโลยีในการตรวจจับเพศของลูกเจี๊ยบก่อนที่มันจะถูกฟักไข่ออกมา
เทคโนโลยีเหล่านี้นอกจากจะช่วยลดค่าใช้จ่ายที่ใช้กำจัดลูกไก่แบบเดิม ๆ แล้ว ยังไม่ต้องใช้ความโหดร้ายกับสัตว์ด้วย
—————
ฝรั่งเศส – ระบบเลี้ยงแมลง 24 ชม.
ในอนาคต ประชากรโลกที่เพิ่มขึ้นจะทำให้เราเจอกับวิกฤติอาหารขาดแคลน
และ ‘โปรตีนจากแมลง’ ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่มาทดแทนโปรตีนจากเนื้อได้อย่างน่าสนใจ
YNsect สตาร์ทอัพ ‘ฟาร์มแมลง’ ในประเทศฝรั่งเศส ที่ดูแลด้วยระบบอัตโนมัติตลอด 24 ชม. การเลี้ยงฟาร์มแมลงเป็นแบบแนวตั้ง เพื่อให้ใช้พื้นที่น้อยลง 98%
ที่สำคัญ ระบบของ YNsect ตอบโจทย์เศรษฐหมุนเวียนได้ดี เพราะฟาร์มแมลงที่นี่มีของเสียเป็น 0 ทุกอย่างในกระบวนการสามารถนำมาใช้ใหม่ หรือเป็นผลิตภัณฑ์อย่างปุ๋ยได้ การเพาะพันธุ์แมลงเพิ่ม ก็เกิดจากแมลงรุ่นใหม่ที่โตมาและนำมาหมุนเวียนใหม่ในระบบ
—————
สหรัฐอเมริกา – หุ่นยนต์ดูแลฟาร์ม
ยิ่งเวลาผ่านไป คนรุ่นใหม่ยิ่งเข้าสู่วงการเกษตรน้อยลง
สหรัฐอเมริกาจึงเริ่มมีปัญหาขาดแคลนแรงงานการเกษตร
ในปี 2015 สตาร์ทอัพ Iron Ox จากแคลิฟอเนีย จึงเกิดขึ้นพร้อมคอนเซ็ป ‘ฟาร์มที่หุ่นยนต์ดูแลทั้งหมด’ ทั้งให้อาหารต้นไม้ และเก็บเกี่ยว ดูแลฟาร์มได้กว้างถึง 10,000 ตารางฟุต ปลูกผักได้ปีละกว่า 26,000 ต้น
เมื่อปลายปี 2020 สตาร์ทอัพ Iron Ox ก็ได้เงินระดมทุนใน Series B เพิ่มกว่า 20 ล้านเหรียญสหรัฐด้วย
—————
ที่มา:
– https://www.stingray.no/why-stingray/?lang=en
– https://ditp.go.th/contents_attach/162840/162840.pdf
– https://mgronline.com/smes/detail/9630000105735
– http://www.ynsect.com/en/ynsect-2/our-business/
– https://techcrunch.com/2020/09/09/iron-ox-raises-20-million-for-its-robotic-farms/
– https://techcrunch.com/2018/10/03/iron-ox-opens-its-first-fully-autonomous-farm/
– https://www.eggxyt.com/- https://www.facebook.com/environman.th/posts/3567915343336887