Create More, Consume Less
เราเคยตั้งคำถามไหมว่า เรากำลังบริโภคเกินพอดี ปัจจุบันตลาดอุปทานที่ผลิตมาป้อนเราเน้นไปที่ความเร็วและการลดต้นทุนการผลิต เร่งทำจำนวนมากกว่าคุณภาพ เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาด โดยเฉพาะสินค้าการเกษตร ซึ่งในกระบวนการผลิตปัจจุบันไม่เพียงเติมแต่งสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อตัวผู้บริโภคเอง แต่ยังส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย
สถานการณ์ผลิตและผลกระทบจากการเกษตร
ประเทศไทยมีการนำเข้าสารกำจัดวัชพืชปีละ 1 แสนกว่าตัน และมีการใช้ยาฆ่าแมลงสูงกว่าประเทศเพื่อนบ้าน เช่น เวียดนาม อินโดนีเซีย ลาว พม่า และพบว่าในปี 2563 มีครัวเรือนที่ใช้สารเคมีทางการเกษตรมากกว่า 6 แสนครัวเรือน
ในปี 2562 มีการตรวจพบผักผลไม้มีสารเคมีตกค้างเกินมาตรฐานสูงถึงร้อยละ 41 มีจำนวนผู้ป่วยจากพิษสารกำจัดศัตรูพืชประมาณ 6,000 กว่าคน สารเคมีทางการเกษตรเป็นสาเหตุของโรคมากกว่า 200 โรค ตั้งแต่ท้องร่วงไปจนถึงโรคมะเร็ง
ไม่ใช่แค่ผลกระทบต่อสุขภาพ การใช้สารเคมีปริมาณมากในการผลิตยังกระทบต่อระบบนิเวศ ทำให้ดินเสื่อมโทรม เกิดปัญหาน้ำท่วมเนื่องจากดินอุ้มน้ำได้น้อยลง การระบาดของศัตรูพืช ตลอดจนสารพิษตกค้างในดิน แหล่งน้ำ และในอาหารที่เรากิน
ถ้าไม่มีการปรับเปลี่ยนหรือพัฒนาระบบการผลิต กลไกทางตลาด และการบริโภค ให้มีความยั่งยืน เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ห่วงโซ่นี้จะย้อนกลับมาทำร้ายธรรมชาติและมนุษย์เอง
เกษตรอินทรีย์ ทางออกของความยั่งยืน
แล้วเราจะสร้างความยั่งยืนในห่วงโซ่นี้อย่างไร ? คำตอบอยู่ในคำว่า เกษตรอินทรีย์ หลายคนน่าจะเคยได้ยิน แต่น้อยคนที่จะเข้าใจกระบวนการของเกษตรอินทรีย์ที่แท้จริง
เกษตรอินทรีย์ดีต่อเรา ดีต่อโลก เกษตรอินทรีย์ คือ การทำการเกษตรโดยมีการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมี เพื่อมุ่งรักษาความสมบูรณ์ทางชีวภาพในระบบนิเวศ ให้เป็นไปตามสมดุลธรรมชาติมากที่สุด ผลผลิตที่ได้จึงมีคุณค่าทางโภชนาการสูงและปลอดสารพิษ
จากแนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy: BCG Model) ถูกประกาศเป็นวาระแห่งชาติ มีการนำ BCG Model มาใช้เป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนประเทศไทย การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) จึงมีแผนการส่งเสริมการท่องเที่ยวตามแนวคิด BCG Model โดยได้ร่วมมือกับสมาคมผู้บริโภคอินทรีย์ไทย (Thai Organic Consumer Association: TOCA) ในการขับเคลื่อน BCG Tourism ผ่านการท่องเที่ยววิถีอินทรีย์ ที่มี TOCA Platform และ Earth Points System มาเป็นเครื่องมือในการเชื่อมโยง value chain รวมถึงมีการสร้างเส้นทาง Organic Farm Trip ที่ช่วยสร้างความรู้ และความเข้าใจในวิถีเกษตรอินทร์ให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรม
การขับเคลื่อนสังคมอินทรีย์ ทำได้โดยใช้หลักการสร้างความยั่งยืนตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ
ส่วนต้นน้ำ คือ การสร้างการมีส่วนร่วมจากกลุ่มเกษตรกร (Smart Organic Farmer & SME) ในการบริหารจัดการทรัพยากร กระบวนการเพาะปลูก ดูแลและเก็บเกี่ยว ควบคู่ไปกับการใส่ใจสิ่งแวดล้อม ชวนภาคธุรกิจ (Inclusive Business)ซึ่งเป็นส่วนกลางน้ำที่เชื่อมต่อสินค้าเกษตรไปยังผู้บริโภค (Active Consumers/Responsible Tourists) ให้หันมาทำธุรกิจแบบเกื้อกูลสังคม สร้างคุณค่าร่วมกับชุมชนมากขึ้น ในส่วนปลายน้ำ ได้มีขยายตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ในหลายพื้นที่ เพื่อสร้างความตระหนักต่อผู้บริโภค ชวนมาเป็นสังคมอินทรีย์ด้วยกัน
TOCA Platform
TOCA Platform เป็นแพลตฟอร์มที่เกิดขึ้นเพื่อเชื่อมต่อผู้ผลิต ผู้ประกอบการ ผู้บริโภค บนวิถีของเกษตรอินทรีย์ ในรูปแบบที่เข้าถึงง่าย ที่ผ่านมามีพันธมิตรเข้าร่วมเป็นสมาชิกมากมาย หนึ่งในนั้น คือ ไร่ปันสุข พื้นที่ท่องเที่ยววิถีอินทรีย์ ในจังหวัดกระบี่ ที่เกิดจากความตั้งใจของคุณกิ๊บ และ คุณอุ๊ สองผู้บริหารโรงแรมผู้ลงมือสร้างวิถีอินทรีย์ให้เกิดขึ้นจริง
ที่ไร่ปันสุข เราจะได้สัมผัสความงามของธรรมชาติ พายคายัคชมแหล่งต้นน้ำที่คลองหรูด ปิกนิกท่ามกลางบรรยากาศบริสุทธิ์ พร้อมชิมเมนูออร์แกนิกสดๆ จากฟาร์ม รับรองว่ามาแล้วจะได้ทั้งความสนุก และแรงบันดาลใจในการลุกมาสร้างสิ่งดีๆ ต่อโลก
ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของสังคมอินทรีย์กับ TOCA
Download Application TOCA
App Store : https://apps.apple.com/th/app/toca-platform/id1490913263?l=th
Play Store : https://play.google.com/store/apps/details?id=com.mulberrysoft.top&hl=th&gl=US
Website: www.tocaplatform.org
Line Official Account: https://lin.ee/1uDee1A
#TOCA #เกษตรอินทรีย์ #ไร่ปันสุข #earthpoint #organictourism
ที่มา: สมาคมผู้บริโภคอินทรีย์ไทย, TOCA Platform, เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช, กองโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค, สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน)
ที่มารูปภาพ: สมาคมผู้บริโภคอินทรีย์ไทย, TOCA Platform