ประเทศอื่นใช้อะไร? ถ้าไม่ใช้ ‘สำเนาบัตรประชาชน’

Highlight

เบื่อไหมที่ต้องถ่ายสำเนาบัตรประชาชน แล้วต้องเซ็นรับรองทับอีกชั้น?

ปี 2547 ครม.มีมติเห็นชอบให้ปรับเปลี่ยนบัตรประชาชนแถบแม่เหล็กมาเป็นรูปแบบสมาร์ทการ์ดด้วยงบประมาณ 7,910 ล้านบาท และเปลี่ยนเสร็จสมบูรณ์ในปี 2558 .สิริรวมแล้วไทยใช้เวลาถึง 11 ปีในการเปลี่ยนมาใช้สมาร์ทการ์ด.ต่อมาในปี 2561 ก็มีประกาศให้ยกเลิกการขอสำเนาบัตรฯ จากประชาชนตามนโยบาย Thailand 4.0.แต่ทำไมที่ผ่านมายังมีการใช้สำเนาบัตรประชาชนอีกนะ?

  • เพราะเราไม่มีการเตรียมความพร้อมเรื่องระบบข้อมูล

เราปรับบัตรมาเป็นสมาร์ทการ์ด เพราะหวังว่าจะใช้เก็บข้อมูลต่างๆ ทั้งระบบทะเบียนราษฎร์ ระบบประกันสุขภาพ และระบบประกันสังคม ฯลฯ .แต่เพราะไม่ได้เตรียมพร้อม ข้อมูลอื่นๆ นอกเหนือจากทะเบียนราษฎร์เลยไม่ได้ถูกบรรจุลงในบัตร.ส่งผลให้สมาร์ทการ์ดของเรามีประสิทธิภาพไม่ต่างจากบัตรประชาชนแถบแม่เหล็กแบบเดิมที่มีราคาเพียงใบละประมาณ 15 บาท

  • เครื่องอ่านไม่พร้อม

มีการระบุถึงความขาดแคลนในเครื่องอ่านบัตร อย่างไรก็ตาม พบว่ามีการจัดซื้อเครื่องอ่านและแจกจ่ายอยู่เรื่อยๆ และคาดว่าจะมีใช้เพียงพอในไม่ช้า

  • ความโปร่งใส

มีการกำหนดเงื่อนไขการประมูลไว้สูง ซึ่งไม่ใช่เงื่อนไขด้านเทคนิค ทำให้ผู้เข้าร่วมประมูลมีน้อยราย โดยเฉพาะในการประมูลผลิตบัตรสมาร์ทการ์ด รุ่นที่ 1 ตั้งราคาเริ่มต้นสูงถึง 120 บาท.ในขณะที่มีข้อมูลระบุว่ากระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสามารถจัดทำได้ในราคาใบละประมาณ 40 บาทเท่านั้น.สรุปก็คือ ที่ยังต้องถ่ายสำเนา เพราะระบบฐานข้อมูลไม่เพียบพร้อม เครื่องอ่านไม่ได้มีทุกที่ และยังถูกตั้งคำถามมากมายถึงความโปร่งใสด้วย

  • แต่ก็ใช้สมาร์ทการ์ดได้เมามันส์แล้วแหละ

เพราะภาครัฐแสดงประสิทธิภาพของมันในงานรับปริญญาของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่ผ่านมาแล้ว ในการใช้เครื่องอ่านบัตรเพื่อคัดกรองคนเข้างาน และในระบบก็โชว์ข้อมูลของคนๆ นั้นอย่างครบถ้วน ทำให้เรา ‘เบิกเนตร’ ว่าในกรณีเร่งด่วนจำเป็น (หรอ?) รัฐบาลของเราก็มีประสิทธิภาพได้อย่างน่าแปลกใจ

แล้วเวลาติดต่อราชการถ้าไม่ใช้สำเนาบัตรประชาชน ประเทศอื่น ที่มีการพัฒนารัฐอฉริยะเขาใช้อะไรกัน?

🇰🇷 เกาหลีใต้

ผู้นำด้าน ‘รัฐดิจิทัล’ ของโลก

เนื่องจากประชากรภายในประเทศใช้งานสมาร์ทโฟนเกือบ 100% เป็นที่เรียบร้อย ซึ่งทุกคนที่ใช้งานสมาร์ทโฟนต้องใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านทางผู้ให้บริการ 3 ค่าย อย่าง SK Telecom, KT และ LG Uplus.เกาหลีใต้จึงใช้เทคโนโลยี Blockchain ในการยืนยันตัวตน ผ่านระบบ PASS สามารถใช้ประโยชน์ในการเป็น

– ใบขับขี่ดิจิทัล

– ติดตามการระบาดของโรค Covid-19

———-

🇸🇬 สิงคโปร์

พัฒนา SingPass ซึ่งเป็นระบบยืนยันตัวตนดิจิทัลที่ให้ประชาชนเข้าถึงบริการของรัฐบาลได้ โดยการใช้เทคโนโลยีไบโอเมทริกซ์เป็นหลัก คือ แสกนใบหน้า/แสกนนิ้วโดยสามารถใช้เข้าถึงบริการรัฐ, เปิดบัญชีธนาคาร, เข้าห้องสอบ

———-

🇪🇪 เอสโตเนีย

เอสโตเนียขึ้นชื่อเรื่องรัฐบาลดิจิทัลอยู่แล้ว ตั้งแต่ประกาศให้สามารถสมัครเป็นประชาชนของเอสโตเนียได้ ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนบนโลก ทำงานแบบไร้กระดาษทุกขั้นตอน เช่น ประชุมคณะรัฐมนตรีโดยไม่ใช้กระดาษ (Paperless Meeting)

และออกกฎลดความยุ่งยากในการใช้งานและตรวจสอบของประชาชน ว่าหน่วยงานรัฐต้องไม่จัดทําฐานข้อมูลซ้ำซ้อนกัน ทุกฐานข้อมูลจะต้องมีหน่วยงานรับผิดชอบหน่วยเดียว เป็นต้น

ส่วนการยืนยันตัวตน เอสโตเนียใช้บัตรประชาชนคู่กับระบบ E-ID โดยทุกคนจะ มีรหัส 2 ชุด คือ

– PIN1 เพื่อใช้บริการดิจิทัลของรัฐและเอกชน

– PIN2 ใช้ลงลายมือชื่อดิจิทัล

———-

🇸🇪 สวีเดน

อีกหนึ่งผู้นำด้าน ‘รัฐดิจิทัล’ ของโลก ใช้บัตรประชาชนคู่กับ ระบบ PKI ชื่อ Telia หรือถ้าสมัครใจ จะฝังชิปในตัวเลยก็ได้

ซึ่งการยืนยันตัวตน ก็จะคล้ายๆ เอสโตเนีย คือใช้การยืนยันทางอิเล็กทรอนิกส์โดยใช้ได้กับทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นธุรกรรมธนาคาร และบริการดิจิทัลต่างๆ ของภาครัฐและเอกชน

เรื่องน่ารู้ก็คือ สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของไทยเรา ก็มีบันทึกไปศึกษาดูงานเรื่องนี้จากเอสโตเนียและสวีเดนมาด้วยนะ

ที่มา:

– https://www.dga.or.th/upload/download/file_a542f2fad19c1edee16c0f068336daed.pdf?fbclid=IwAR21fIcE_

– https://www.khaosod.co.th/bbc-thai/news_4991673

https://www.isranews.org/isranews-scoop/69673-isranews-69673.html

https://www.posttoday.com/politic/report/405080

https://www.isranews.org/isranews-scoop/68503-report01_68503.html

https://www.dga.or.th/th/profile/2133/

– https://www.adslthailand.com/post/6029

https://cryptosiam.com/south-korea-driving-license-digital-app-blockchain/

– https://publicadministration.un.org/egovkb/Portals/egovkb/Documents/un/2020-Survey/2020%20UN%20E-Government%20Survey%20(Full%20Report).pdf

http://www.oic.go.th/FILEWEB/CABINFOCENTER4/DRAWER078/GENERAL/DATA0000/00000861.PDF

Popular Topics