เด็กไทยหลุดระบบการศึกษา มากแค่ไหน? ในแต่ละจังหวัด

Highlight

ฤา ระบบการศึกษาไม่เอื้อต่อเด็กไทย! 

เมื่อตัวเลขเด็กหลุดออกจากระบบการศึกษาพุ่งขึ้นสูงถึง 1 ล้านกว่าคน

.

แล้วเด็กไทยหลุดจากระบบการศึกษามากแค่ไหนในแต่ละจังหวัด

วันนี้ #Agenda พาทุกคนไปดูสัดส่วนจำนวนเด็กที่หลุดจากระบบการศึกษาในแต่ละจังหวัดกัน

.

โดยจังหวัดที่มีจำนวนเด็กหลุดจากระบบการศึกษามากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่

– จังหวัดกรุงเทพฯ ที่มีจำนวนเด็กหลุดจากระบบการศึกษามากถึง 34% เป็นจำนวน 306,273 คน

– จังหวัดตาก มีจำนวนเด็กหลุดจากระบบการศึกษา 14% เป็นจำนวน 18,718 คน

– จังหวัดนนทบุรี  มีจำนวนเด็กหลุดจากระบบการศึกษา 14% เป็นจำนวน 25,945 คน

.

สำหรับจังหวัดที่มีจำนวนเด็กหลุดออกจากระบบการศึกษาน้อยที่สุดได้แก่ จังหวัดสิงห์บุรี  มีจำนวนเด็กหลุดจากระบบการศึกษา 5% เป็นจำนวน 1,518 คน

.

สาเหตุที่เด็กไทยหลุดออกจากการศึกษานั้นแบ่งออกเป็นหลากหลายปัจจัย โดยสาเหตุที่ส่งผลมากท่ีสุดก็คงหนีไม่พ้น “ปัญหาความยากจน” ดังที่เราได้กล่าวไว้แล้วในโพสต์ “วันเด็ก..ที่เด็กไทยหลุดจากระบบการศึกษามากถึง 1,000,000 คน” นี้นั่นเอง

.

แต่นอกจากปัญหาความยากจนแล้ว การที่เด็กหลุดออกจากระบบการศึกษายังมาจากปัจจัยเหล่านี้อีกด้วย

.

– กระบวนการการเรียนรู้ของไทย 

กระบวนการเรียนรู้ของไทยนั้น เน้นไปที่การตัดเกรด แข่งขัน การวัดผลแปดกลุ่มสาระวิชา ตัวชี้วัดมากมายที่ทำให้เด็กที่ปรับตัวไม่ได้ถูกระบบการศึกษาผลักออกไป โดยมีเด็กเพียง 30% เท่านั้นที่สามารถศึกษาต่อไปได้ ส่วนเด็กที่เหลือจะค่อย ๆ หลุดออกไปกลางทางหรือตรงช่วงรอยต่อ

.

– การขาดโรงเรียนและคุณครูที่มีคุณภาพ

การขาดโรงเรียนคุณภาพที่กระจายอยู่ไม่พอเพียงในหลายพื้นที่ ถือว่าเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้เด็กหลุดออกจากระบบการศึกษา และการคมนาคมนั้นมีผลอย่างมากในเรื่องนี้เช่นกัน โดยแม้เด็กส่วนหนึ่งอยากจะเรียนต่อในช่วงชั้นที่สูงขึ้น ก็ไม่สามารถทำได้ เพราะไม่มีโรงเรียนที่อยู่ใกล้บ้านที่รองรับการศึกษาให้ได้ 

.

นอกจากนี้การกระจายตัวของบุคลากรทางการศึกษาเองก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญ โดยครูที่มีคุณภาพมักไม่ตัดสินใจที่จะทำงานในโรงเรียนเล็ก ๆ ในพื้นที่ห่างไกล แต่เลือกที่จะกลับไปทำงานในเมือง เพื่อที่จะได้พาตัวเองไปหาความก้าวหน้าในชีวิต หรือทำให้สามารถใช้ชีวิตได้สะดวกสบายมากขึ้น

.

เมื่อขาดบุคลาการทางการศึกษาที่มีคุณภาพ จึงส่งผลต่อความเชื่อมั่นของผู้ปกครองต่อระบบการศึกษาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยทำให้ผู้ปกครองไม่มั่นใจว่า สุดท้ายแล้วเมื่อส่งลูกเข้ามาเรียนในโรงเรียนที่ถูกรับผิดชอบโดยบุคลากรไม่กี่คน จะสามารถช่วยพัฒนาความสามารถหรือยกระดับชีวิตของลูกหรือครอบครัวตัวเองได้ และตัดสินใจดึงเด็กออกจากระบบการศึกษาไป เพราะมองว่าไม่จำเป็นแล้วนั่นเอง

.

– การจัดสรรทรัพยากร

การศึกษาที่จัดการเชิงเดี่ยวแบบครอบทั้งหมดรวมศูนย์ หรือการจัดสรรทรัพยากรอย่างไม่เสมอภาคยังส่งผลให้เด็กหลุดออกจากระบบการศึกษาด้วยเช่นกัน เพราะประเทศไทยมีความแตกต่างของภูมิภาคเป็นอย่างมาก โรงเรียนและระบบการศึกษาจึงไม่สามารถถูกดำเนินการโดยนโยบายรูปแบบเดียวที่เหมือนกันทั้งหมดได้ รวมทั้งยังมีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ต่าง ๆ ในเรื่องความแตกต่างด้านการใช้ภาษาและวัฒนธรรมเข้ามาเกี่ยวข้องอีกด้วย

.

แต่ที่สำคัญและชวนสงสัยมากที่สุดนั้นคือ ทำไมกรุงเทพฯ ที่ได้ชื่อว่าเป็นเมืองหลวงและเป็นศูนย์กลางแห่งความเจริญ กลับมีตัวเลขเด็กหลุดออกจากระบบการศึกษามากที่สุดเป็นอันดับหนึ่งในประเทศ

.

Source: กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา, ระบบสารสนเทศเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา

Popular Topics