ทำไมสวิสเซอร์แลนด์ ถึงไม่มีชุดนักเรียน?

Highlight

สหพันธ์ครูของสวิสเซอร์แลนด์ มองว่าชุดนักเรียน เป็นการสะท้อนถึงแนวคิดแบบทหาร ที่พยายามสร้างอุดมคติว่าทุก ๆ คนเท่าเทียมกันเพราะดูเหมือนกัน ซึ่งไม่เหมาะสมกับ ‘การศึกษาที่ทันสมัย’ ของสวิสเซอร์แลนด์ ในสังคมที่เป็นประชาธิปไตย

เมื่อปี 2019 รัฐวาเล หนึ่งในรัฐของสวิสเซอร์แลนด์

ที่มีประชากรราว ๆ 3.3 แสนคน

ได้พิจารณาให้เด็ก ๆ กลับไปใส่ ‘ชุดนักเรียน

ทำให้เกิดประเด็นถกเถียงว่า

การทำแบบนั้นเท่ากับเป็นการ ‘ก้าวถอยหลัง’ 

มากกว่าการพัฒนาและเป็นประโยชน์ต่อเด็ก ๆ หรือไม่?

💂🏻‍♀️ บทเรียนจากอดีต – แบ่งแยกชนชั้นและอุดมคติแบบทหาร

สหพันธ์ครูของสวิสเซอร์แลนด์ (Federation of Swiss teachers)

ให้ความเห็นไว้ว่า เครื่องแบบนักเรียน มักพบในกลุ่มประเทศอาณานิคมของอังกฤษ และโซนเอเชีย แต่ไม่เคยปรากฎว่าโรงเรียนรัฐของสวิสเซอร์แลนด์ จำเป็นต้องมีเครื่องแบบด้วย

นอกจากนี้ เครื่องแบบนักเรียน ยังเป็นการสะท้อนถึงแนวคิดแบบทหาร ที่พยายามสร้างอุดมคติว่าทุก ๆ คนเท่าเทียมกันเพราะดูเหมือนกัน

สหพันธ์ครูฯ ยังมองว่าการที่โรงเรียนเอกชนมีเครื่องแบบ

นั้นทำให้เกิดการแยกชนชั้นระหว่างเด็ก ๆ ที่เรียนในโรงเรียนต่างฐานะกัน 

เมื่อพิจารณาจากเหตุผลเหล่านี้

ทำให้ ‘การบังคับใส่ชุดนักเรียน’ 

ไม่เหมาะสมกับ ‘การศึกษาที่ทันสมัย’ 

ของสวิสเซอร์แลนด์ ในสังคมที่เป็นประชาธิปไตยเอาซะเลย 

👎🏼 เคยทดลองใช้ แล้วเด็กไม่ชอบ เลยเลิกไป

ในปี 2006 สวิสเซอร์แลนด์เคยมีโครงการทดลองใช้ชุดนักเรียนในกลุ่มเด็กอายุราว ๆ 14 ปี

โดยออกแบบชุดให้ดูชิวๆ เป็นเสื้อโปโล 

และแจ็คเกตมีฮู้ดสบาย ๆ

ดูไม่เหมือนชุดนักเรียนแบบที่คุ้นเคยด้วยซ้ำไป

ส่วนค่าชุดที่แม้จะสูงถึง $740 

แต่ภาครัฐก็ยินดีจะช่วยสนับสนุนเงินส่วนต่างค่าชุดให้ถูกกว่าเสื้อผ้าทั่ว ๆ ไป เพื่อช่วยค่าใช้จ่ายของผู้ปกครอง และผู้ปกครองส่วนนึงก็เห็นด้วย เพราะมันประหยัดเวลาการเตรียมตัวตอนเช้า ๆ

แต่หลังจากทดลองได้ 6 เดือนเด็กๆ ส่วนใหญ่ให้ความเห็นว่า

พวกเขาใส่ชุดนักเรียนได้ ถ้าเพื่อนทุกคนใส่

แต่ชุดนักเรียน มันไม่ตรงกับสไตล์การแต่งตัวของพวกเขา และอยากที่จะใส่อะไรที่เป็นตัวเองมากกว่า

โครงการนำร่องนี้จึงถูกพับเก็บไป

————-

สิ่งที่น่าสนใจประเด็นชุดนักเรียนของสวิสฯ 

คือการทดลองและสำรวจความเห็นของทุก ๆ ฝ่าย

มีทั้งกลุ่มที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย

และผู้ใหญ่ก็ให้น้ำหนักที่สุดกับความคิดเห็นของเด็ก ๆ ที่ต้องเป็นคนใส่มัน

ที่มา: Swissinfo, Federation of Swiss teachers

Popular Topics