เวลาทำงานร่วมกับคนอื่น บางทีเราก็อยากจะ Feedback งาน แต่กลัวจะทำร้ายความรู้สึกของอีกฝ่าย
หรือบางที เราก็เป็นคนที่ถูก Feedback เสียเอง แต่ไม่รู้จะรับมืออย่างไรดี
แต่ที่รู้แน่ ๆ ก็คือ การ Feedback นั้นเป็นสิ่งจำเป็น เพราะผลงานจะ ‘ดีขึ้นทันที’ ถ้าการฟีดแบคมีคุณภาพ
มาดูกันว่า Netflix องค์กรที่เน้นส่งเสริมวัฒนธรรมแห่ง ‘ความจริงใจ’ มีแนวทางการ Feedback อย่างไร ให้จริงใจ ตรงไปตรงมา แต่ยังมองหน้าเพื่อนร่วมงานติดอยู่
#AGENDA ชวนลองหลัก 4A ที่ Netflix ใช้ดู!
📢 กล้า..ที่จะให้ Feedback
1. Feedback จากเจตนาดี (Aim to Assist)
เริ่มต้นด้วยเจตนาที่ดี หรือที่คนไทยเรียกว่า ‘ติเพื่อก่อ’
การติเพื่อก่อ จะไม่ใช่การด่าทอ การระบายอารมณ์
และควรอธิบายให้ชัดเจนว่า ‘การเปลี่ยนแปลง’ ที่เราเสนอไปนี้จะช่วยให้งานราบรื่นยังไง
2. Feedback ให้ทำต่อได้จริง (Actionable)
บอกแนวทางให้ชัดเจน ไม่พูดกว้าง ๆ และไม่ช่วยให้แก้ไขได้จริง ตัวอย่างที่ไม่ดีเช่น “คุณเสนอไอเดียในที่ประชุมแบบเละเทะมาก ๆ” ลองเสนอเป็นแนวทางที่ชัดขึ้น เช่น “ถ้าคุณเสนอไอเดียแบบสรุปเป็น 3 ประเด็นหลัก ทุกคนน่าจะเห็นภาพไอเดียชัดขึ้นนะ”
👂 กล้า..ที่จะรับ Feedback
3. รับ Feedback อย่างเห็นคุณค่า (Appreciate)
ต่อสู้กับ ‘อัตตา’ ความรู้สึกต่อต้านหรือปฏิกิริยาตามธรรมชาติที่จะเกิดขึ้นเสมอ เมื่อเราต้องเผชิญหน้ากับคำวิจารณ์ ให้รู้สึกขอบคุณที่ได้รับ Feedback และกล่าวขอบคุณ
4. รับ Feedback แต่ทำ/ไม่ทำก็แล้วแต่ (Accept or Discard)
แม้เราจะกล่าวขอบคุณกับสิ่งที่คน Feedback มา แต่ไม่ได้แปลว่าเราต้องทำตามนะ
หากเราพิจารณาแล้วว่ามันเป็นเรื่องจริง ก็ยอมรับแล้วพยายามแก้ไขเพื่อผลลัพธ์ที่ดีขึ้น
ให้ระลึกไว้ว่า การตัดสินใจแก้ไข ก็อยู่ที่ตัวผู้รับ Feedback อย่างเราเอง
ที่มา: brightsidepeople.com, bigdreamblog.com, THE STANDARD PODCAST | The Secret Sauce